ชัดเจนแล้ว วันกลับบ้านทักษิณ ไวกว่าที่คิด
เมื่อวันที่ 25 ก.ย. 2566 เมื่อเวลา 13.30 น.ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา มีนายสมชาย แสวงการ สว.เป็นประธานกมธ. เพื่อพิจารณาติดตามการดูแลนักโทษของระบบราชทัณฑ์ ในกรณีของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลตำรวจ โดยเชิญตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โรงพยาบาลตำรวจ กระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ โรงพยาบาลราชทัณฑ์ มาให้ข้อมูลต่อกมธ. ใช้เวลาประชุมนานกว่า 3 ชั่วโมง จากนั้นเวลาเวลา 16.45น. นายสมชายแถลงว่า กมธ.ได้รับคำตอบชัดเจนในระดับหนึ่งใน 4 ประเด็นคือ 1. นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจ ตั้งแต่วันที่ 22 ส.ค. อยู่ในความดูแลของกรมราชทัณฑ์ที่ให้พักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลตำรวจ มีทั้งเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์และเจ้าหน้าที่ตำรวจจัดเวรเฝ้าดูแลควบคุม ข้อครหาที่ว่านายทักษิณไม่ได้อยู่ที่โรงพยาบาลตำรวจจริง หรือกลับบ้านไปเลี้ยงหลานแล้วนั้น ตัวแทนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.)ยืนยัน นายทักษิณยังพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ
นายสมชาย กล่าวว่า 2.การรักษาตัวเป็นไปตาม 4 โรคสำคัญ ที่มีผลรับรองทางการแพทย์จากสิงคโปร์และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ขณะที่การผ่าตัดนายทักษิณโดยแพทย์ใหญ่ ที่โรงพยาบาลตำรวจนั้น ไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน เรื่องอาการป่วยและการผ่าตัด เพราะเป็นไปตามกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิผู้ป่วย และตัวแทนแพทย์โรงพยาบาลตำรวจที่มาชี้แจงกมธ.ในครั้งนี้ไม่ใช่แพทย์ผู้ดูแลรักษานายทักษิณ แต่กมธ.ให้คำแนะนำว่า ขณะนี้มีการสงสัยอาการป่วยหลายโรค แพทย์ควรชี้แจงว่า มีโรคใดที่ควรกังวล ใช้เวลาพักฟื้นเท่าใด เพื่ออธิบายให้สังคมเข้าใจ คลายความสงสัย แม้ประเด็นกล่าวจะเป็นสิทธิของผู้ป่วยและญาติไม่เปิดเผย แต่ควรอธิบายให้สังคมเข้าใจในบางระดับว่า จะต้องรักษาต่อไปอีกนานเท่าใด กมธ.แนะนำสามารถส่งข้อมูลทางลับได้ เพราะกมธ.จะไม่นำไปเปิดเผย
นายสมชาย กล่าวว่า 3.ถ้านายทักษิณอาการดีขึ้นจะส่งตัวกลับไปรักษาที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ได้หรือไม่ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ระบุว่าต้องดูอาการนายทักษิณอยู่ในเกณฑ์ใด ขึ้นอยู่กับแพทย์จะเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจ และเป็นสิทธิของญาติที่จะชี้แจงกับสังคมหรือไม่ โดยกมธ.ไม่ก้าวล่วง 4.กรณีรับพระราชทานอภัยโทษลดโทษเหลือ 1 ปี จะได้รับการลดโทษได้อีกหรือไม่ กรมราชทัณฑ์ระบุว่า เกณฑ์ขอลดโทษตามห้วงเวลาที่ขอพระราชทานอภัยโทษนั้น มีช่วงเวลาตามวโรกาสพิเศษ เช่น วันที่ 5 ธ.ค. 28 ก.ค. 12 ส.ค. แต่การขอลดโทษตามเกณฑ์ดังกล่าว นักโทษต้องรับโทษมาแล้ว 1ใน3 หรือ 6 เดือน โดยยึดเกณฑ์เวลาที่มากกว่า ซึ่งนายทักษิณจะต้องรับโทษ 6เดือน ครบกำหนดเดือนก.พ.2567 จึงได้รับสิทธิการพักโทษ แม้จะรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลตำรวจก็ถือว่า เข้าข่ายให้นับโทษอยู่ในเรือนจำ ดังนั้นหากนายทักษิณรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลตำรวจครบ 6เดือน ในเดือน ก.พ.2567 ก็จะเข้าเกณฑ์ได้รับการพักโทษ สามารถกลับไปรักษาตัวที่บ้านได้ เพราะอยู่ในข่ายอายุเกิน 70 ปี โดยไม่จำเป็นต้องใส่กำไลอีเอ็ม แต่อาจจำกัดพื้นที่ให้อยู่ที่บ้านในประเทศไทย ไม่สามารถเดินทางไปนอกราชอาณาจักรได้
นายสมชาย กล่าวว่า 3.ถ้านายทักษิณอาการดีขึ้นจะส่งตัวกลับไปรักษาที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ได้หรือไม่ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ระบุว่าต้องดูอาการนายทักษิณอยู่ในเกณฑ์ใด ขึ้นอยู่กับแพทย์จะเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจ และเป็นสิทธิของญาติที่จะชี้แจงกับสังคมหรือไม่ โดยกมธ.ไม่ก้าวล่วง 4.กรณีรับพระราชทานอภัยโทษลดโทษเหลือ 1 ปี จะได้รับการลดโทษได้อีกหรือไม่ กรมราชทัณฑ์ระบุว่า เกณฑ์ขอลดโทษตามห้วงเวลาที่ขอพระราชทานอภัยโทษนั้น มีช่วงเวลาตามวโรกาสพิเศษ เช่น วันที่ 5 ธ.ค. 28 ก.ค. 12 ส.ค. แต่การขอลดโทษตามเกณฑ์ดังกล่าว นักโทษต้องรับโทษมาแล้ว 1ใน3 หรือ 6 เดือน โดยยึดเกณฑ์เวลาที่มากกว่า ซึ่งนายทักษิณจะต้องรับโทษ 6เดือน ครบกำหนดเดือนก.พ.2567 จึงได้รับสิทธิการพักโทษ แม้จะรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลตำรวจก็ถือว่า เข้าข่ายให้นับโทษอยู่ในเรือนจำ ดังนั้นหากนายทักษิณรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลตำรวจครบ 6เดือน ในเดือน ก.พ.2567 ก็จะเข้าเกณฑ์ได้รับการพักโทษ สามารถกลับไปรักษาตัวที่บ้านได้ เพราะอยู่ในข่ายอายุเกิน 70 ปี โดยไม่จำเป็นต้องใส่กำไลอีเอ็ม แต่อาจจำกัดพื้นที่ให้อยู่ที่บ้านในประเทศไทย ไม่สามารถเดินทางไปนอกราชอาณาจักรได้