จับตาเบี้ยชราภาพประกันสังคม หลังรัฐบาลปรับเกณฑ์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

จับตาเบี้ยชราภาพประกันสังคม หลังรัฐบาลปรับเกณฑ์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

หลังจากที่ก่อนหน้านี้ กระทรวงมหาดไทย ได้มีการปรับหลักเกณฑ์จ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุฉบับใหม่ เมื่อ 11 ส.ค. นับได้ว่าเป็นการสิ้นสุดการจ่ายเบี้ยยังชีพคนชราแบบถ้วนหน้า ที่ดำเนินมากว่า 14 ปี ซึ่งระเบียบใหม่ที่เพิ่งประกาศนี้ สร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองต่าง ๆ รวมไปถึงพรรคเพื่อไทย ที่เตรียมเป็นแกนนำรัฐบาลชุดใหม่ก็ไม่เอาด้วยเช่นกัน แถมยังประณามการกระทำของรัฐบาลรักษาการด้วย

นอกจาก หลายฝ่ายที่ได้รับผลกระทบโดยตรงแล้ว ยังมีผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ตั้งข้อสงสัยว่า ผู้ประกันตนที่รับเงินบำนาญชราภาพ ยังมีสิทธิที่จะได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ อีกหรือไม่ นั่นทำให้ นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า แม้ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญชราภาพจากกองทุนประกันสังคม ก็มิใช่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ

ผู้ประกันตนดังกล่าวจึงเป็นผู้สูงอายุที่ไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามข้อ 6 (4) แห่งระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2552 ดังนั้น ผู้ประกันตนที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพ จึงเป็นผู้สูงอายุที่มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมองในส่วนของกฎเกณฑ์ใหม่ การรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ซึ่งต้องพิสูจน์ ความยากจน และเป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนดนั้น จะกระทบสิทธิผู้ประกันตนหรือไม่ เช่น ถ้าหากว่าผู้ประกันตนได้รับเงินบำนาญชราภาพจากกองทุนประกันสังคม เดือนละ 3,000 บาท ซึ่งถือเป็นรายได้ที่มากกว่าเส้นความยากจน ตามที่สภาพัฒน์ กำหนดไว้ที่ 2,802 บาทต่อเดือน

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ