วิษณุ มาแล้ว สว.หมดอายุอยู่รักษาการ ไม่มีอำนาจมาโหวตนายกฯได้

วิษณุ มาแล้ว สว.หมดอายุอยู่รักษาการ ไม่มีอำนาจมาโหวตนายกฯได้

จากกรณี นายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง สมาชิกพรรคเพื่อไทย อดีตทนายความคดี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้โพสต์เฟซบุ๊กในทำนองว่า เมื่อดูตาม พ.ร.ป. ว่าด้วยการได้มาซึ่ง สว. พ.ศ 2561 แล้วจะเห็นได้ว่ามีกระบวนการ ขั้นตอนมาก ซึ่งอาจจะใช้เวลานาน อย่างน้อย 6 เดือน หรือ อาจ 1 ปี ได้ ฉะนั้นจึงคาดว่า สว. ชุดนี้จะอยู่ได้อีกไม่น้อยกว่า 1 ปีครึ่ง หรือ 2 ปี เป็นอย่างน้อย และเมื่อดูรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2560 จะเห็นได้ว่า ไม่มีบทบัญญัติและบทเฉพาะกาลใด ห้าม สว. รักษาการณ์ เลือกนายกรัฐมนตรีได้ ซึ่งก็มีคนเข้ามาถกเถียงกันเป็นจำนวนมาก

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Narrawit Larlaeng

ล่าสุด นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีมีการเสนอยืดเวลาออกไปอีก 10 เดือน เพื่อให้หมดอำนาจในการโหวตนายกรัฐมนตรีว่า ตนไม่เคยได้ยิน ได้ยินแต่ว่าพรรคการเมืองเขาจะไม่ยอมให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น และรัฐบาลเองไม่อยากที่จะอยู่แบบนั้นด้วย

แต่ละคนก็หมดเวลา และอยากจะแยกย้ายไปทำมาหากินของตัวเอง เพราะยังมีวิธีอื่นอีกตั้งเยอะ มันไม่มีประโยชน์อะไรที่จะถ่วงเวลาไปอย่างนั้น รัฐบาลจะแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการก็ลำบากจะใช้งบกลางก็ลำบาก จะเสนองบประมาณใหม่เข้าสภาก็ไม่ได้

เมื่อถามอีกว่า ถ้า สว. หมดอายุไปแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะต้องทำอย่างไร นายวิษณุกล่าวว่า ในรัฐธรรมนูญเขียนไว้ว่า ในระหว่างที่มีการคัดสรร สว. ชุดใหม่ สว. ชุดเก่าจะต้องรักษาการต่อไป แต่ไม่สามารถมีส่วนในการเลือกนายกรัฐมนตรีได้ ในช่วงรักษาการนี้

เพราะการเลือกนายกฯ เขาล็อกเอาไว้ 5 ปี พอครบ 5 ปี ในวันที่ 11 พ.ค. 67 ก็หมดวาระ สว. ที่อยู่เขาให้อยู่เพื่อปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ไม่ใช่หน้าที่ตามมาตรา 272 ไม่ใช่การเลือกนายกฯ ทั้งนี้ การคัดสรรสว.โดยคัดสรรเป็นอาชีพ ไม่ได้คัดสรรเป็นจังหวัด

เรื่องนี้ทาง กกต เป็นคนจัดการ ซึ่งหาก สว. ชุดนี้ใกล้หมดวาระ ทางกกต. จะมาคิดวางไทม์ไลน์ต่อไป ทั้งนี้ สว. มาจากการเลือกตั้งโดยตรง เป็นการเลือกจากสาขาอาชีพมาเป็นกลุ่ม ๆ และมาคัดสรร แต่หากจะมีการแก้ไขใหม่จากนี้ ก็ต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่มาก

เรียบเรียง siamnews

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ