ไม่มีทางเจริญ ศิธา แซะกลไกพิเศษแอบแฝงรัฐธรรมนูญ เพราะ ส.ว. พูดเอง ต้องตอบแทนคนที่เลือกมา

ไม่มีทางเจริญ ศิธา แซะกลไกพิเศษแอบแฝงรัฐธรรมนูญ เพราะ ส.ว. พูดเอง ต้องตอบแทนคนที่เลือกมา

หลังจากที่มีประเด็นการเมืองในไทยไม่เว้นแต่ละวัน ล่าสุด พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้ถูกศาลรัฐธรรมนูญให้ยุติบทบาท ส.ส. จนกว่าจะศาลผ่านวินิจฉัย รายการ “คนดังนั่งเคลียร์” ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 เลยขอเชิญคุณ น.ต.ศิธา ทิวารี สมาชิกพรรคไทยสร้างไทย (ทสท.) มาร่วมพูดคุยถามถึงข้อสงสัยที่หลากหลายประเด็นอาทิ สุดทางก้าวไกลไร้มิตรทางการเมือง, กลเกมการเมือง ส.ว.ถือเสียงข้างมาก, ลือสนั่น! รัฐสภา เลือดท่วมจอ, หวั่น! เผด็จการยึดอำนาจนายก ไม่ได้มาจากเสียงประชาชน ฯลฯ ซึ่งในรายการจะดุเดือดเผ็ดมันแค่ไหน แฟนๆสามารถรับชมย้อนหลังเต็มๆได้ทาง ยูทูบช่อง 8 เท่านั้น

ประชาชนที่ออกมาเลือกตั้งกันเยอะแยะขนาดนี้ ถ้าเกิดไม่ได้ทำตามสิ่งที่ประชาชนต้องการ มันก็เป็นความรู้สึกของพี่ปุ่นใช่ไหมว่า อย่าทำให้สิ่งที่ไม่ให้เกียรติ และทำให้ประชาชนหมดศรัทธา?

ผมก็นึกเหมือนกับประชาชนทั่วไป เพราะเราต้องยอมรับว่าทุกครั้งที่เราต้องออกไปลงคะแนนเสียง ที่ผ่านมาประชาชนมีความหมายในวันที่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง พอหลังจากนั้นเท่ากับว่าที่เราไปหย่อนบัตรแพล็บเดียว มันจะมีผลไปอีก 4 ปีข้างหน้า ที่เอาสิทธิของเราไปมอบให้กับพรรคการเมือง เขาก็ควรจะทำตามสิทธิ์ที่เรามอบให้เขาไป

เรื่องปิดสวิตช์ ส.ว. มันใช่เรื่อง และใช้เวลาตอนนี้ไหมคะ ที่เรากำลังเลือกนายกฯ?

คือต้องบอกว่าการปิดสวิตช์ ส.ว. ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อประชาธิปไตยหรือเปล่า ถือว่าเป็น ถามว่าใน 2 เรื่องนี้ทำคู่ขนานกันได้ไหมในมุมของผมมองว่าก็ควรทำคู่ขนานกันไปหมายความว่า โหวตนายกฯบางคนก็ตั้งเรื่องว่า ประชาชนทนไม่ได้แล้ว จะผูกคอตายอยู่แล้ว เศรษฐกิจไปไม่ได้จาก 9 ปีที่ผ่านมา ที่เหลืออีก 9-10 เดือน ส.ว.จะหมดวาระก็ต้องเลือกไปก่อน แต่จะเลือกอย่างไรให้ทั้ง8 พรรค หรือฝั่งที่ประชาชนเขาเลือก 312 เสียงเนี่ย คงอยู่แบบนี้คือ ถ้าเกิดจะหยิบใครออกไป แล้วเอาใครคนใดคนหนึ่งเข้ามาเนี่ย มันก็จะใกล้เคียงกับเผด็จการ และใกล้เคียงกับที่เราเห็นมาเมื่อ 9 ปีที่แล้วเข้าไปเรื่อยๆ ถ้าไกลหน่อยก็อาจเป็นนักการเมืองที่สนับสนุน ถ้าใกล้ตัวไปเลยก็กลายเป็นพรรคการเมืองที่เขาออกมาจัดตั้งเอง ถ้าแบบนั้นก็จะเป็นแบบขั้นสุด เพราะฉะนั้นทั้งหมดเลยผมมองว่า อย่างน้อยประชาชนออกไปเลือกกันแล้ว 39 ล้านเสียง มันไม่ใช่ว่าเลือกฝั่งไหนกี่ล้าน แล้วจะเป็นอย่างไร มันไม่ใช่ แต่มันคือประชาชนทั้ง 39 ล้านคนที่ออกไปเลือกเนี่ย ผลออกมาแบบนี้ มันคือมติของมหาชน แต่ว่าในบางฝ่ายมองว่าในเมื่อแพ้ตรงนี้แล้ว ถ้าเกิดมีกลไกอะไรพิเศษที่อยู่นอกประชาธิปไตย เอาไปแฝงในรัฐธรรมนูญ เอากลับมาช่วยอีกครั้ง ก็ดีเหมือนกันนะ พวกเราได้กลับมาชนะ ถ้าคิดแบบนั้นประชาธิปไตยไม่มีทางเจริญ มันต้องมองว่าประชาธิปไตยออกมาเป็นอย่างไรก็ควรต้องทำอย่างนั้น เพราะฉะนั้นกลไกของ ส.ว.นี้แหละ คือกลไกที่บิดเบือนจากประชาธิปไตยปกติที่ทั้งโลกเขาทำกัน กลายเป็นว่าสิ่งที่ประชาชนเลือกกลับมาตอบสนอง ส.ส. 500 คน แต่อีก 250 คน หรือครึ่งนึงของประชาชนทั้งหมด เลือกโดยเผด็จการ หรือเลือกด้วย กสทช. เดิม

บรรดา ส.ว.เขาจะคิดไหมคะว่า เวลามาฉันก็ไม่ได้มาเพราะประชาชน เพราะฉะนั้นเวลาจะออกจะให้บรรดา ส.ส. เอาออกมันคนละเรื่องกัน?

เขาก็คิดอย่างนั้นอย่างที่อาจารย์บอกจริงๆ ไปดีเบตกันในรายการเขาก็บอกเลย ผมก็บอกว่าคุณจะต้องไปตอบแทนบุญคุณกับคนที่เลือกคุณมาก็คือ พลเอกประยุทธ์ พลเอกประวิตร เขาก็บอกว่าก็เพราะเขาทำถูกต้องแล้ว การตอบแทนบุญคุณก็เป็นลักษณะของคนไทย ซึ่งพลเอกประยุทธ์เลือกเขามา เขาก็ต้องตอบแทนพลเอกประยุทธ์ เขาก็พูดกับผมตรงๆแบบนี้ แล้วเราจะทำอย่างไรก็เขายอมรับอย่างนี้แล้ว เขาเอากลไกไปฝั่งในรัฐธรรมนูญ ไปฝั่งใน 250 คน ผมถึงบอกว่าเราเหมือนคนที่ถูกชวนไปเล่น FOREX เหมือนชาวไร่ ชาวนาที่เอาที่ดินไปจำนองกับนายทุน แล้วโดนเขียนสัญญาที่เสียเปรียบเอาใส่เข้าไป แล้วตอนนี้เอากฎหมายมาวางอย่างไรก็แพ้เขา

พี่ปุ่นคะ มี ส.ว.ท่านนึงอย่างคุณส.ว.กิตติศักดิ์ เคยพูดว่าทั้งครั้งหน้าล่ะก็ “เลือดท่วมจอ” การเลือกตั้ง ผู้แทน ส.ส. บริหารบ้านเมือง ต้องฆ่าฟันจนกระทั่งเลือดท่วมกันเลยเหรอคะ?

เลือดท่วมมันไม่ใช่ฆ่าฟันก็ครับ แต่มันน่าจะลักษณะที่เอามีดมาเสียบข้างหลังมากกว่า ซึ่งผมมองว่าเลือดท่วมจอ แกคงมองข้ามช็อตไปแล้ว เพราะถ้าเกิดโหวต 8 พรรค แล้วเสนอคนใดคนหนึ่งตกลงกันได้ มันไม่มีเหตุการณ์เลือดท่วมจอหรอก ก็จะมีแค่ว่าผ่านหรือไม่ผ่าน แต่การที่เลือดท่วมจอคือกรณีที่ 8 พรรคนี้ MOU แตก หมายความว่าหยุด MOU ไปไม่สามารถดำเนินการตามนี้ได้ แล้วพอกลับไปเนี่ย อันนี้จะเลือดท่วมจอแล้ว เพราะว่าจะเข้าใจว่า เดี๋ยวคนนั้นจะได้ เดี๋ยวคนนี้จะได้ เดี๋ยวเวลาเสนอชื่อตรงนั้นที่จะไปเลือดท่วมจอ พลิกกันไป พลิกกันมาแหละ แต่ว่าจะท่วมจอจริงๆ หรือไปท่วมหลังฉาก อันนี้อีกเรื่องนึง แต่จะไปพลิกกันตรงนั้นครับ

วันนั้นที่พูดถึงมาตรา 112 ที่ไม่ควรจะเอาเข้ามาเกี่ยวข้องมี ส.ว. คนนั้น คนนี้พูด เดี๊ยนมีความรู้สึกว่ามันมีการนำบางข้อมาอ้างใช่ไหมคะ จริงๆแล้วคือมาตรการสกัดกั้นถูกต้องไหมคะ?

ก็คือทางฝั่งนึงก็มองว่าเป็นการอ้าง อีกฝั่งนึงก็มองว่า ถ้าไม่ใช่มาตรานี้ ก็คงเป็นข้ออ้างอันอื่นอีก แต่อย่างนึงที่ยอมรับ และผมก็พูดมาตลอดว่า ไม่ควรนำเรื่องนี้มาพูดในเรื่องของการโหวตนายกฯ เพราะ 1. เป็นเรื่องของนิติบัญญัติ แต่ไม่ใช่เรื่องของฝ่ายบริหาร ณ เวลานี้อย่างที่ผมบอกว่า ไม่ใช่แค่ 14 ล้านคน แต่ว่าก็อาจจะรวมของพรรคที่สะท้อน ส.ส. 312 คนด้วย แล้วประชาชนส่วนนึงถึงแม้จะแพ้ แต่เขามองว่ากติการะบุแบบนี้ แล้วจำนวนของเราสู้ไม่ได้เนี่ย ตามระบอบประชาธิปไตย เราก็ต้องยอม ถ้าเป็นแบบนี้เขาจะรู้สึกอย่างนึงต้องให้ระบบเดินไป แต่พอเราไปอ้างกฎหมาย ซึ่งจริงๆ 112 เป็นกฎหมายไม่ใช่สถาบัน ไปอ้างกฎหมาย แต่ว่าเอาไปผูกรวมกับสถาบัน คนที่ต้องการให้ระบบถูกต้องเนี่ย เขาก็จะมองว่าทำไมถึงเอาสถาบันมาเกี่ยวข้อง ซึ่งตรงนี้ไม่ดีเลย เราต้องยอมรับว่า ถ้าเกิดมีประเทศไทยมา การพูดเรื่อง 112 ที่เยอะ ชัดที่สุด และพูดกันมากที่สุดคือ ในเวทีการเลือกนายกฯ ถ้าถามผม ผมว่ามันไม่ใช่ แต่ว่าโอเค ในเมื่อหยิบกันมาแล้ว เขาก็ต้องมีการคุยกัน

แฟนๆสามารถติดตามรายการ คนดังนั่งเคลียร์ ทุกวันจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 17.15 น. ทางช่อง 8 กดเลข 27 และรับชมย้อนหลังได้ทางยูทูบช่อง 8 เท่านั้น!

ทีมข่าวสยามนิวส์

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ