วิโรจน์ ซัดเดือด กิตติศักดิ์ ลุกแจ้งผล พิธา โดนสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ ฟาดกลับ อยากเข้าวัดก็เข้าไม่ได้
ต่อมาเวลา 10.00 น. วันที่ 19 ก.ค.2566 ระหว่างการประชุมรัฐสภา เพื่อโหวตนายกรัฐมนตรี นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ส.ส.ราชบุรี พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้เสนอเป็นญัตติ ว่าเสนอให้มีการพิจารณาว่าการเสนอนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกฯ ขัดต่อข้อบังคับข้อที่ 41 หรือไม่ โดยมีผู้รับรองถูกต้อง
ทำให้ นายจุลพันธ์ อมรวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ได้ประท้วง ข้อที่ 33 ระบุว่าเมื่อที่ประชุมพิจารณาญัติใดอยู่ ห้ามเสนอญัตติอื่น และหากจะออกจากปัญหานี้ต้องใช้รัฐสภาตัดสินคือข้อบังคับ 151 ในการตีความข้อบังคับ ถ้าจะเสนอตามข้อบังคับ 151 ก็ยินดีเดินต่อแล้วถกว่าเข้าข้อบังคับที่ 41 เป็นญัตติซ้ำหรือไม่ และให้ที่ประชุมตัดสิน อย่างไรก็ตามสิ่งที่นายอัครเดช เสนอขัดต่อข้อบังคับการประชุมข้อที่ 33 ชัดเจน
นายอัครเดช ลุกขึ้นย้อนว่า แสดงว่านายจุลพันธ์ ยอมรับโดยปริยายว่า การเสนอชื่อนายพิธา คือญัตติ ดังนั้นเราไม่ต้องไปพิจารณาต่อแล้ว เพราะถือว่าทำผิดข้อบังคับขอที่ 41
นายจุลพันธ์ แย้งว่า สิ่งที่ตนเสนอไปยังจะต้องมานั่งถกกันอีกว่าคืออะไรกันแน่ คือญัตติตามรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ญัตติทั่วไปที่จะสามารถใช้ข้อบังคับข้อที่ 41 มาใช้ได้ เราจะเอาข้อบังคับไปครอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีศักดิ์ใหญ่กว่าไม่ได้ ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคือตีความข้อบังคับข้อทื่ 151 จะมาอ้างลอยๆ โดยไม่มีอะไรรองรับไม่ได้
ทำให้ นายอัครเดช ยืนยันว่า การที่ตนเสนอญัตติซ้อนญัตติ ไม่ไช่เรื่องที่ไม่มีหลักการ เพราะไม่มีเขียนว่าญััตินี้อยู่ในรัฐธรรมนูญ หรือญัตตินี้อยู่ในข้อบังคับ ฉะนั้นมีญัตติเดียว
ทำให้ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ลุกขึ้นอภิปรายว่า ตอนนี้เรากำลังถกกันผิดประเด็น เพราะตามระเบียบวาระให้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสำรวจได้รับตำแหน่งนายกฯ ตนทราบดีว่ากำลังเอานิยามคำว่าญัตติ คือข้อเสนอเพื่อให้ที่ประชุมลงมติไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ซึ่งตามข้อบังคับที่ 29 ต้องเสนอเป็นลายลักษณ์อักษร หรือถ้าไม่เสนอล่วงหน้าก็ต้องเข้าข้อบังคับที่ 32 ซึ่งผู้ที่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นนายกฯ ไม่อยู่ในมาตรานี้ แต่อยู่ในข้อบังคับที่ 136 และ
ผมอยากเตือนทุกคนว่า ให้ไปอ่านรัฐธรรมนูญมาตรา 5 ให้ดี ข้อบังคับไม่ได้ใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ ยืนยันว่าการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคตคลเป็นนายกน ไม่ใช่ญัตติ และถ้าตีความว่าเป็นญัตติ ต้องบอกด้วยว่าถ้ามีผลกระทบกระเทือนให้บันทึกด้วยว่าจะเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว”นายวิโรจน์ กล่าว
ด้าน นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ชี้แจงว่า วันนี้เป็นการอภิปรายที่สำคัญเพื่อที่จะลงมติในเรื่องการเลือกผู้นำประเทศ คือนายกฯ ดังนั้นตนจะเปิดให้มีการอภิปรายเพื่อความรอบครอบเพื่อที่จะได้ไม่มีประเด็นปัญหาในภายหลัง หรือมีก็ให้น้อยที่สุด
ทั้งนี้ที่ประชุมยังคงถกเถียงกันเรื่องเดิม ทำให้ นายวันมูหะมัดนอร์ แจ้งว่า เราอภิปรายมาเกือบ 3 ชม.แล้ว ตนได้ฟังทุกฝ่ายแล้ว ส่วนใหญ่ ติดว่าข้อบังคับไปได้หรือไม่ ตนจึงวินิจฉัยว่า ข้อบังคับที่ 151 ภายใต้ข้อบังคับมาตรา 19 ของรัฐธรรมนูญ โดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาิกเท่าที่มีอยู่ ของทั้งสองสถาเป็นประการใด ให้ถือว่าคำวินิจฉัยนั้นเป็นเด็ดขาด
ต่อมาเวลา 12.05 น. นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ส.ว. ลุกขึ้นขอให้ประธานฯพิจารณาว่าขณะนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีผลบังคับแล้วสั่งให้ นายพิธา ยุติปฏิบัติกหน้าที่ด้วยมติ 7ต่อ 2 เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีมติออกมาอย่างนี้ขอให้นำประกอบการพิจารณาด้วย
ทำให้ถูก นายวิโรจน์ ประท้วงตามข้อบังคับที่ 45 แต่ นายพรเพชร วิชิตชลชัย รองประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม ขอให้นายกิตติศักดิ์พูดให้จบก่อน
แต่นายวิโรจน์สวนกลับว่า ไม่ ตามข้อบังคับเมื่อมีบุคคลประท้วง ต้องยืนแล้วยกมือขึ้นเหนือศรีษะประธานต้องพิจารณาให้ผู้ประท้วงประท้วงก่อน ไม่เช่นนั้นจะมีความเสียหายเกิดขึ้น ถ้าปล่อยให้บุคคล คนนี้พูดในสภาฯ ท่านประธานจะรับผิดชอบหรือไม่
นายกิตติศักดิ์ สวนขึ้นทันทีว่า กิตติศักดิ์ มีศักดิ์และสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ สามารถที่จะอภิปรายได้ อย่าใจร้อนนัก
นายพรเพชร บอกว่า ตนเพิ่งมานั่งเป็นประธานฯ แต่ถูกนายวิโรจน์สวนขึ้นอีก ทำให้นายพรเพชร บอกให้นั่ง เพราะได้พูดแน่ และนายกิตติศักดิ์ก็ได้พูดแน่จะพูดพี่ครั้งตนก็จะยอม แต่นายวิโรจน์ ยังพูดสวนว่าตนยกมือประท้วงตามข้อบังคับ ตนต้องมีสิทธิ์
ทำให้ นายพรเพชร กล่าวอย่างมีอารมณ์ว่า รอหน่อยสิ ผมเพิ่งนั่งเนี่ย ตามข้อบังคับใช้ แต่ตอนนี้เพิ่งเปลี่ยนเก้าอี้
นายวิโรจน์จึงเปลี่ยนเป็นประท้วงประธานฯ แทน แต่นายพรเพชร ไม่ให้ประท้วง และให้นายวิโรจน์นั่งลง แล้วจะให้เถียงกับนายกิตติศักดิ์ อย่าเอาชนะตนเลย ตนไม่ได้มีข้ออะไร
แต่นายวิโรจน์ ตะโกนลั่นห้องประชุมทั้งที่ถูกปิดไมค์ ว่าประธานทำอย่างนี้ได้อย่างไร แต่นายพรเพชรก็สั่งให้นั่งลง แล้วจะให้อภิปราย
จากนั้น นายวิโรจน์ อภิปรายประท้วง นายกิตติศักดิ์ ว่าตนว่าระเบียบราชการก็คงต้องรอหนังสือราชการมาอย่างเป็นทางการก่อน ไม่ต้องแสดงอาการกระเหี้ยนกระหือรือขนาดนั้น ทำไมอยากจะเข้าวัดที่พิจิตรมากขนาดนั้นเลยหรือ ไม่ต้องกระเหี้ยนกระหือรือ เพราะต่อให้ท่านอยากจะเข้าวัด ก็เข้าวัดไม่ได้
นายพรเพชร จึงขอให้หยุดแค่นั้น อย่าทะเลาะกันเลย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนหน้านั้น นายพิธา ได้เดินทางออกจากห้องประชุม ทางประตูหลังห้องประชุม โดยได้โบกมือและชูบัตรประจำตัว ส.ส. ไปยังด้านหน้าห้องประชุมด้วย และหลังจากที่เกิดประเด็นวิวาทะระหว่างนายวิโรจน์และนายกิตติศักดิ์ นั้น นายพิธาได้เดินกลับเข้าห้องประชุม และนั่งในเก้าอี้ประจำของตัวเอง