![เปิดผลตรวจ พระธาตุ ครูบาฉ่าย](data/news_data/picture_800/94200my.png)
เปิดผลตรวจ พระธาตุ ครูบาฉ่าย
จากรณีที่ลูกศิษย์ ครูบาฉ่าย ส่ง พระธาตุ ซึ่งอ้างว่าเป็นเม็ดพระธาาตุที่ออกมาจกเหงื่อ โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ, กรมทรัพยากรธรณี, กรมวิทยาศาสตร์บริการ และสถาบันอัญมณีแห่งชาติ พบว่าเม็ดสสารนั้นมีองค์ประกอบจากสิ่งมีชีวิตอยู่ พร้อมทั้งลูกศิษย์ยังได้อ้างถึงความมหัศจรรย์ของสสาร ซึ่งขัดต่อหลักของพระพุทธศาสนา
ขณะที่ทางด้านของ อาจารย์อ๊อด รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เผยผลการตรวจสอบของ พระธาตุดังกล่าว พร้อมยืนยันว่า เป็นเพียงเม็ดพลาสติกเท่านั้นไม่ใช่พระธาตุ
แต่คณะศิษย์ตรวจพบสารสำคัญ คือในเม็ดสสารมีโปรตีนเป็นองค์ประกอบเช่นเดียวกับเส้นผมของมนุษย์ โดยสามารถตรวจพิสูจน์ได้ด้วยความรู้พื้นฐานในการตรวจโปรตีนทั่วไป ด้วยคอปเปอร์ซัลเฟต และโซเดียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งหักล้างผลตรวจของอาจารย์ อ๊อด ที่ให้ข่าวว่า พระธาตุจากวัดนี้ เป็นเม็ดพลาสติกโดยสิ้นเชิง
ล่าสุด กรมทรัพยากรธรณี ออกมาชี้แจงถึงกรณีของผลการตรวจ พระธาตุ อีกครั้ง โดยระบุว่า ขอชี้แจงข้อเท็จจริงจากกรณีมีผู้นำวัตถุเม็ดสีชมพูมาขอรับริการตรวจวิเคราะห์ ผลการตรวจวิเคราะห์เคมีทางวิชาการ ไม่พบมีสารประกอบของโปรตีนในตัวอย่างที่ทำการวิเคราะห์แต่อย่างใด
กรมทรัพยากรธรณีได้ทำการตรวจสอบทางวิชาการ จากตัวอย่างดังกล่าวโดยใช้เครื่องมือทางห้องปฏิบัติการ (XRD และ micro XRF) โดยผลการวิเคราะห์พบเป็นสารประกอบที่ไม่มีรูปผลึกมีธาตุซิลิกอนและออกซิเจน เป็นองค์ประกอบ และเมื่อเผาตัวอย่างที่อุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที ผลการวิเคราะห์พบโซเดียมซัลเฟตเป็นส่วนประกอบ
สรุปได้ว่า ผลการตรวจสอบของ กรมทรัพยากรธรณี ไม่ได้ระบุมีการรายงานว่าพบโปรตีนในตัวอย่างดังกล่าวแต่อย่างใด
ทางด้านของ ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ สวทช. ขอชี้แจงในกรณีที่มีลูกค้าได้นำตัวอย่าง เป็นเม็ดสีชมพูใสมาให้ทดสอบ ทางห้องปฏิบัติการได้นำไปทดสอบด้วยเทคนิคทางด้านเอ็กซเรย์ (EDXRF) และเทคนิค FTIR พบว่า ในตัวอย่างมีธาตุซัลเฟอร์ และธาตุซิลิคอนเป็นองค์ประกอบ และจากสเปคตรัม เมื่อเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลแล้ว ผลที่ได้ตรงกับลักษณะของซิลิกาเจล
สำหรับ ซิลิกาเจล เป็นสารสังเคราะห์ในรูปซิลิกอนไดออกไซด์ ที่มีพื้นที่ผิวมาก ดูดความชื้นโดนการกักเก็บความชื้นไว้ที่โพรงของโครงสร้างด้านใน สามารถดูดความชื้นอยู่ที่ 24-40% ของน้ำหนักตัว และจะมีประสิทธิภาพสูงสุดที่อุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส
ซิลิกาที่ถูกนำมาใช้ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ เม็ดใส ขนาด 2-5 มิลลิเมตร และเม็ดสีน้ำเงิน ที่มีการเติม cobalt chloride ลงไปทำให้มีสีน้ำเงิน ซึ่งสีน้ำเงินนี้จะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีชมพู เมื่อความชื้นสัมพัทธ์ภายนอกสูงกว่า 40%
ซิลิกาเจลชนิดนี้จึงมีประโยชน์ในการสังเกตว่า ผลิตภัณฑ์มีความเสี่ยงต่อความชื้นแค่ไหน หากซิลิกาเจลที่ใช้ยังคงมีสีน้ำเงินหรือไม่เปลี่ยนสีมากนัก แสดงว่าความชื้นรอบข้างถูกซิลิกาเจลดูดไว้และมีระดับความชื้นสัมพัทธ์ที่ต่ำ ทางตรงข้าม หากสีของซิลิกาเจลเปลี่ยนเป็นสีชมพู แสดงว่าความชื้นรอบข้างมีปริมาณสูง