สมาคม อบต.แห่งประเทศจัดเวทีดีเบต 6 พรรคยันหากพรรคไหนให้ความสำคัญท้องถิ่นช่วยเต็มที่

สมาคม อบต.แห่งประเทศจัดเวทีดีเบต 6 พรรคยันหากพรรคไหนให้ความสำคัญท้องถิ่นช่วยเต็มที่

วันที่ 4 พฤษภาคม 66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ห้องประชุมโรงแรม มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี สมาคม อบต.แห่งประเทศไทย ได้เปิดเวทีดีเบตโดยเชิญตัวแทนจาก 6 พรรคการเมืองเข้าร่วมประอบไปด้วยนายพรชัย มาระเนตร์ กรรมกาานโยบายพรรคชาติพัฒนากล้า /ม.ร.ว.ศศิพฤนท์ จันทรทัต กรรมการนโยบาย ด้านเศรษฐกิจพรรคประชาธิปัตย์ / นายเชตวัน เตือประโคนคณะทำงานด้านกระจายอำนาจ พรรคก้าวไกล/ นายสัมพันธ์ แป็นพัฒน์ รองหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา/ คร.วิโชติ วัณโณ คณะกรรมการนโยบายกระจายอำนาจพรรคเพื่อไทย และ คร.บุรินทร์ สุขพิศาล กรรมการฝ่ายจัดทำนโยบาย พรรคพลังประชารัฐ

ในขณะที่การดีเบตในครั้งนี้ทาง สมาคม อบต.แห่งประเทศไทย ได้มีการกำหนดคำถามเพื่อซักถามต่อพรรคการเมืองที่เข้าร่วมดีเบตในการตอบข้อซักถามและให้ความสำคัญกับท้องถิ่นอย่างไรบ้าง โดยบรรยากาศเป็นไปด้วยความคึกคักทางพรรคการเมืองต่างได้มีการตอบคำถามจากท้องถิ่นโดยมีกองเชียร์ของแต่ละพรรคมาคอยให้กำลังใจในครั้งนี้

ผศ.(พิเศษ) ดร.วิระศักดิ์ ฮาดดา นายกสมาคม อบต.แห่งประเทศไทย กล่าวว่าวัตถุประสงค์ในการจัด ดีเบต ในครั้งนี้เราต้องการให้มีการยกฐานะของท้องถิ่นให้มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เพราะปัจจุบันทุกเวทีเขาไม่ได้กล่าวถึงท้องถิ่นเลย พูดแต่การกระจายอำนาจผู้ว่าฯอย่างเดียวมันใช่ เรื่องการกระจายอำนาจมันมีหลายมติหลายบทบาท และปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับท้องถิ่นนั้นไม่ได้รับการแก้ไขจากรักฐบาลทุกรัฐบาล เพราะฉะนั้นทุกพรรคการเมืองที่จะเข้ามาเป็นรัฐบาลในคราวต่อไปนี้ ก็อยากจะฟังเขาก่อนที่จะไปเป็นรัฐบาลว่า เขามีแนวคิดอย่างไรในเรื่องการกระจายอำนาจ มีแนวคิดในองค์กรปกครองท้องถิ่นอย่างไร ซึ่งเราอยากจะยกฐานะให้เทียบเท่ากับเทศบาลเราต้องการที่จะให้ท้องถิ่นแยกออกจากกระทรวงมหาดไทย ไม่ได้กำกับดูแลของใครอธิบดี ปลัดกระทรวง เราอยากเป็นเอกภาพของตัวเองนั้นก็คือการบริหารตัวเอง สภาท้องถิ่นแห่งชาติ และมีตัวแทนแต่ละท้องถิ่นเป็นตัวแทนในบอร์ดนั้น

เราต้องการอย่างนี้เพราะปัจจุบันนี้เราถูกกำกับดูแลจากกระทรวงมหาดไทยตลอดเวลา ทำอะไรต้องฟังคำสั่งระเบียบของเขาตลอด ทำไมระเบียบของเราไม่สามารถที่จะทำอะไรได้เลย ปัญหาต่างๆ ที่ได้รับการแก้ไข ถ้าเราไปทำก็ถูกระบุว่าไม่มีอำนาจหน้าที่ พอเราไปทำก็ถูกทาง สตง. ปปช. ดำเนินการลักษณะอย่างนี้แล้วประชาชนเขาเดือดร้อนนี่คือการที่เราอยากจะมาฟังว่า ถ้าคุณเป็นรัฐบาลแล้วคุณแก้ไขให้เราได้ไหม ยกฐานะของ อบต.ในฐานะที่ดูแลประชาชน และรากหญ้า แก้ไขให้กับประชาชน ถ้าเขามีแนวคิดอย่างนี้แล้วพูดออกมาเราก็จะเอาคำพูดของเขาเหล่านั้นไปถามเขาเมื่อเขาเป็นรัฐบาลว่า คุณเคยมาพูดเคยมารับปากกับท้องถิ่นต่อไปนี้ คุณจะทำอย่างนี้ 1.2.3. แต่ถ้าคุณไม่ทำสมัยต่อไปก็ต้องมาว่ากันอีก เพราะทุกครั้งที่ผ่านมาใครมาเป็นรัฐบาลเขาไม่เคยพูดถึงท้องถิ่นเลยเวลาเราอยากจะได้อะไรเราก็ต้องไปวิ่งไปร้องขอเหมือนเด็ก อะไรก็ต้องไปร้องขอ ร้องขอ ร้องห่ม ร้องไห้ จะขึ้นค่าตอบแทนยังต้องรวมพลังกันเป็นหมื่น เป็นแสน ถึงจะขึ้นค่าตอบแทนได้อย่างงั้นเหรอ

อันนี้มันเป็นขวัญกำลังของผู้บริหารท้องถิ่นแล้วต่อไปสวัสดิการต่างๆ ควรจะได้รับมันอยู่ตรงไหนแล้วใครจะดูแลเราก็ต้องมาถามตอนที่ยังไม่ได้เป็นรัฐบาลเราก็ต้องมาถามเขาก่อน ถ้าเขารับปากเรายินดีให้การสนับสนุน ไม่ใช่คุณมาดีเบตอย่างเดียวจะได้พูดได้ว่าพรรคการเมืองนี้ พูดได้ชัดเจนเพื่อให้การสนับสนุน แต่ถ้าใครพูดแบบกำๆ แบบครึ่งๆ กลางๆ แบบไม่ชัดเจนเราก็คงไม่ร่วมด้วย ถ้าเป็นรัฐบาลไปก็คงไม่ทำงานให้ท้องถิ่น แต่ถ้าพรรคไหนมีความชัดเจนต่อเรื่องนี้ก็ยินดีให้การสนับสนุนและฝากไปบอกพรรคการเมืองทั่วประเทศว่าถ้าใครมีนโยบายเกี่ยวกับเรื่องการกระจายอำนาจแก่ท้องถิ่นและให้ท้องถิ่นเป็นหลักในการบริหารงานทั้งหมดให้มันเทียบเท่ากับส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ท้องถิ่นให้มันเสมอภาคกันถ้าพรรคการเมืองทำอย่างนี้ได้ไม่ต้องเป็นหลักหรอก แค่ให้มันเสมอภาคก็คือท้องถิ่นให้มันเสมอภาคกันเท่าเทียมกันจะเทคะแนนให้หมดเลย

ทีมข่าวสยามนิวส์

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ