วันนี้เจอฝน กรมอุตุฯเตือน 7วันข้างหน้าเจอทั้งฝนทั้งหนาว
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ในวันที่ 5 พ.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาว โดยอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย ประกอบกับลมตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือตอนบน ทำให้บริเวณภาคเหนือมีฝนตกเล็กน้อย
ส่วนในช่วงวันที่ 6-10 พ.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง
สำหรับร่องมรสุมยังคงพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 4 - 6 พ.ย. 65 ร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนล่างจะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากในช่วงวันที่ 4 - 6 พ.ย. 65 สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตลอดช่วง
ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่วนในช่วงวันที่ 5-10 พ.ย. 65 สำหรับประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก และประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควร เดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ในวันที่ 4 - 5 พ.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาว โดยอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย ประกอบกับลมตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือตอนบน ทำให้บริเวณภาคเหนือมีฝนตกเล็กน้อย
ส่วนในช่วงวันที่ 6-10 พ.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง
สำหรับร่องมรสุมยังคงพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 4 - 6 พ.ย. 65 ร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนล่างจะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากในช่วงวันที่ 4 - 6 พ.ย. 65 สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตลอดช่วง
ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่วนในช่วงวันที่ 5-10 พ.ย. 65 สำหรับประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก และประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควร เดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
กรุงเทพและปริมณฑล ในช่วงวันที่ 5 – 10 พ.ย. 65 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น 1 - 3 องศาเซลเซียส และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 20 กม./ชม.
นายสมควร ต้นจาน ผู้อำนวยการส่วนพยากรณ์อากาศกลาง กองพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ฝนรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.) ระหว่าง 4 -13 พ.ย. 65 อัพเดท 2022110312 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) ประเทศไทยตอนบน อากาศเย็นลง ยอดภู ยอดดอย อากาศหนาว มีหมอกในตอนเช้า กลางวันอากาศอาจจะร้อน ท้องฟ้าโปร่ง เมฆมีน้อย ลมแรงทางภาคอีสาน
ทั้งนี้ เนื่องจากมวลอากาศเย็น ยังแผ่ปกคลุมภาคเหนือ ภาคอีสาน ระมัดระวังสุขภาพช่วงที่มีอากาศเย็นลง สำหรับร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุม มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ ตั้งแต่ จ.ชุมพรลงไป ยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง
โดยเฉพาะช่วง 4 -6 พ.ย.65 ต้องระวังฝนตกหนัก คลื่นลมในทะเลมีกำลังแรงขึ้น ชาวเรือ ชาวประมงเดินเรือด้วยความระวังในระยะนี้
ช่วงวันลอยกระทง (8 พ.ย.65) ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคตะวันออก กทม.และปริมณฑล ไม่มีฝนมารบกวนการจัดกิจกรรม มีเพียงภาคใต้ ตั้งแต่ จ.ชุมพรลงไปลอยกระทง อาจจะต้องเจอฝน (ข้อมูลนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)
ขอบคุณ กรมอุตุนิยมวิทยา