เลขหางประทัดขบวนแห่รับขวัญพลายชมพู ช้างคู่บารมีองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
วันที่ 26 มิถุนายน 2565 ผู้สื่อข่าวได้รับรายงานว่า ที่วัดเถรพลาย ตำบลวังน้ำซับ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี พระครูพิสุทธิรัตนาภรณ์ เจ้าคณะตำบลวังน้ำซับ เจ้าอาวาสวัดเถรพลาย พร้อมคณะกรรมการวัด จัดขบวนแห่รับขวัญช้างพลายชมพู มาประประดิษฐานที่หน้าท้าวเวสสุรรณโชคดี ท้าวเวสสุวรรณปลดหนี้ ปางถือกระดานชนวน ซึ่งมีหนึ่งเดียวในประเทศ ที่บริเวณหน้าองค์พระเจดีย์สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อายุเก่าแก่กว่า 400 ปี เพื่อเป็นการเสริมดวง เสริมบารมี สะเดาะเคราะห์ โดยมีพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ 10 รูป เจริญพระพุทธมนต์ธรรมจักรกัปวตนสูตร เพื่อรับขวัญช้างพลายชมพู ช้างคู่บารมีองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และขอพลังพุทธานุภาพ บารมีธรรมแห่งท้าวเวสสุวรรณ ขอให้ร่ำรวยเงินทอง เหลือกินเหลือใช้ โชคลาภมากมาย ไม่เจ็บไม่จน สุขสมหวังทกประการ เป็นการเสริมดวง เสริมบารมี เสริมโชค เสริมลาภ และเพื่อความสิริมงคล
สำหรับช้างพลายชมพู เป็นช้างคู่บารมีองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทำด้วยปูนปั้นจากช่างฝีมือดีใน จ.สุรินทร์ น้ำหนัก 4 ตัน หรือ 4,000 กิโลกรัม สูง 3 เมตร สร้างขึ้นเพื่อให้อยู่คู่กับเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งผู้ที่มาร่วมพิธีต่างมากราบสักการะขอพรและนำกล้วย อ้อย มาให้ช้างพลายเพื่อเป็นอาหารของช้างตามความเชื่อที่ว่าจะมีโชคลาภ ขณะที่นักเสี่ยงโชคที่มารอลุ้นส่องเลขเด็ดหางประทัดในขบวนแห่รับขวัญช้างพลายไม่ยอมพลาด หลังจากที่ขบวนแห่พลายชมพูเข้าเขตวัดคณะกรรมการได้จุดประทัดรับขวัญ จำนวน 10,000 นัด เสร็จแล้วนักเสี่ยงโชคพากันกรูเข้าไปส่องดูเลขหางประทัดเพื่อนำไปเสี่ยงโชคกันอย่างคึกคัก สำหรับเลขที่ได้งวดนี้ คือเลข 293 37 และเลขทะเบียนรถที่บรรทุกช้างพลายชมพู คือเลข 87-06-08 นักเสี่ยงโชคนำเลขที่ได้ไปเสี่ยงโชคกันในงวดนี้
สำหรับท้าวเวสสุวรรณ ปางถือกระบอง ท้าวโชคดี และท้าวปลดหนี้ ปางถือกระดานชนวน มีแห่งเดียวในประเทศไทย เชื่อกันว่ามากราบไหว้ขอพรพรท้าวเวสสุวรรณแล้ว จะประธานพรให้ร่ำรวยทรัพย์สินเงินทอง ค้าขายได้กำไร สามารถปลดหนี้สินได้ จะประสบความสำเร็จ สมหวัง มีโชคลาภ จะมีความสุขสมหวังดังที่ได้อธิฐานขอพรเอาไว้และช่วยปลดหนี้สิน สะสางบัญชีหนี้สินให้หมดไป จะโชคดีได้เหมือนดังชื่อท้าวโชคดี และปลดหนี้เหมือนชื่อท้าวปลดหนี้ ที่ถือกระดานชนวนมีหนึ่งเดียวในประเทศไทย
ข่าวโดย ภัทรพล พรมพัก ผู้สื่อข่าวสยามนิวส์ จังหวัด สุพรรณบุรี