นักวิจัย พบ โอมิครอน BA.2 สายพันธุ์ล่องหน ร้ายกว่าตัวแม่

นักวิจัย พบ โอมิครอน BA.2 สายพันธุ์ล่องหน ร้ายกว่าตัวแม่

เมื่อ 19 ก.พ. 65 ซีเอ็นเอ็นรายงาน ผลการศึกษาใหม่ในห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ของญี่ปุ่น พบเชื้อโควิดโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 ฉายา โอมิครอนล่องหน

บ่งชี้ก่อให้เกิดอาการป่วยรุนแรงมากกว่าเชื้อโควิดโอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม และทำให้เกิดอาการป่วยหนักพอๆ กับเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ก่อนหน้านี้ที่แพร่ระบาด รวมทั้งสายพันธุ์เดลตา

นอกจากนั้น เชื้อโควิดโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 ซึ่งได้รับฉายา โอมิครอนล่องหน ก็เหมือนกับโอมิครอนสายพันธุ์แม่ ที่เกิดการกลายพันธุ์สูง โดยเฉพาะการกลายพันธุ์ที่โปรตีนหนาม หรือสไปก์โปรตีน

จึงทำให้เชื้อโอมิครอน BA.2 สามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันในร่างกายมนุษย์จากการฉีดวัคซีนได้ดี ในขณะที่ผู้ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น หรือวัคซีนบูสเตอร์จะช่วยป้องกันให้เกิดอาการป่วยประมาณ 74% หรือน้อยกว่านี้

อีกทั้ง เชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย ยังสามารถต่อต้านการรักษาบางอย่าง รวมทั้งการรักษาด้วยยา sotrovimab (โซโทรวิแมบ) ซึ่งเป็นยาประเภท โมโนโคลนอนแอนติบอดี'ที่ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยโควิดที่ติดเชื้อโอมิครอน

สำหรับผลการศึกษาเกี่ยวกับโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 ถูกนำมาเผยแพร่ในเว็บไซต์ bioRXiv ก่อนจะได้รับการตรวจทานโดยผู้เชี่ยวชาญ หรือเพียร์รีวิว และก่อนจะถูกนำไปตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์

จากมุมมองของมนุษย์ มันอาจจะร้ายกว่าโอมิครอน BA.1 และอาจจะแพร่กระจายติดเชื้อได้ดีกว่า และก่อให้เกิดอาการป่วยหนักมากกว่า ดร.เดเนียล โรดส์ หัวหน้าแผนกจุลชีววิทยา ที่คลินิกคลีฟแลนด์ ในรัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ตรวจทานการศึกษานี้ แต่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการวิจัย แสดงความเห็น

โอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.2 เกิดการกลายพันธุ์ที่รหัสพันธุกรรมสูง เมื่อเทียบกับโควิด-19 สายพันธ์ุที่ระบาดครั้งแรกในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ยของจีน โดยโควิดโอมิครอน BA.2

มีรหัสพันธุกรรมหลายสิบตำแหน่งเปลี่ยนแปลงไปจากโควิดสายพันธุ์อู่ฮั่น และทำให้มันมีรหัสพันธุ์กรรมที่ต่างจากโควิด-19 ก่อนหน้านี้ ทั้งโควิด-19 สายพันธุ์อัลฟา, เบตา, แกมมา และเดลตา

ขณะที่ เคอิ ซาโตะ นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยโตเกียว ซึ่งร่วมในการงานศึกษาวิจัยนี้ ให้ความเห็นว่า การพบครั้งนี้พิสูจน์ว่า BA.2 ไม่ควรถูกพิจารณาให้เป็นโควิด-19 สายพันธุ์ย่อยชนิดหนึ่งของโควิดโอมิครอน และจำเป็นต้องจับตาโอมิครอน BA.2 อย่างใกล้ชิด

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยญี่ปุ่น พบ โอมิครอนล่องหน BA.2 ร้ายกว่าตัวแม่

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ