ด่วน สธ. สั่งจับตา 2 จังหวัดนี้ด่วน อันตรายมาก
เมื่อวันที่ 2 ม.ค.65 นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า โควิดสายพันธุ์โอมิครอนยังเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ โรคไม่รุนแรง แต่มีการติดเชื้อมากขึ้น โดยทุกโรคที่กังวลคือ ติดเชื้อแล้วจะมีการเสียชีวิต แต่ถ้าติดเชื้อแล้วไม่มีอาการ และสร้างภูมิคุ้มกันได้ก็ไม่เป็นอะไร ทั้งนี้ สธ.จะมีการประเมินสถานการณ์อีกครั้งในวันที่ 3 ม.ค. ก่อนสรุปสถานการณ์และมาตรการเพื่อเสนอต่อ ศบค.ในวันที่ 7 ม.ค.2565
ภาพรวมของโควิด-19 ในสายพันธุ์โอมิครอน โรคน่าจะมีการระบาด แต่ขณะนี้ยังไม่ก่อโรครุนแรง ยังอยู่ภายใต้การควบคุมนพ.เกียรติภูมิกล่าว
ด้าน นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2564 - 1 ม.ค.2565 พบผู้ติดเชื้อโอมิครอนสะสม 1,551 ราย แบ่งเป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 779 รายและติดในประเทศ 772 ราย โดยวันที่ 1 ม.ค. เพิ่มขึ้นวันเดียว 189 ราย มาจากต่างประเทศ 68 ราย และติดในประเทศ 121 ราย ขณะนี้พบผู้ติดเชื้อแล้ว 47 จังหวัด กทม.มากสุด 395 ราย กาฬสินธุ์ 195 ราย ชลบุรี 148 ราย ภูเก็ต 125 ราย และ ร้อยเอ็ด 119 ราย ตัวเลขผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ว่า จะพบการติดเชื้อโอมิครอนเพิ่มขึ้นหลังปีใหม่
ขณะนี้ประชาชนเริ่มกลับมาทำงานแล้ว สธ.ขอความร่วมมือหน่วยงานต่างๆ ให้พนักงานทำงานที่บ้าน (work form home) ให้มากที่สุด เพื่อประเมินสถานการณ์ประมาณ 2 สัปดาห์ ขอความร่วมมือประชาชนตรวจ ATK คัดกรองตนเอง โดยเฉพาะช่วงที่มีอาการระบบทางเดินหายใจ แม้ผลตรวจเป็นลบก็ต้องตรวจซ้ำในช่วง 1-3 วัน และย้ำว่าอยู่ร่วมกันในครอบครัวก็ต้องสวมหน้ากาก นพ.ศุภกิจ กล่าว
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ช่วงปีใหม่ประชาชนให้ความร่วมมือดีบ้าง ไม่ดีบ้าง เท่าที่เห็นจังหวัดที่กำลังระบาดเยอะคือชลบุรี และอุบลราชธานี ส่วน กทม.ทรงๆ ตัว และค่อย ๆ ลดลง ทั้งนี้ เนื่องจากชลบุรีมีคนค่อนข้างเยอะ ส่วนใหญ่เป็นคนงานในโรงงาน บางครั้งมีการจัดกิจกรรมเลี้ยงสังสรรค์ จึงกำชับให้ระมัดระวังเรื่องของการเดินทางกลับบ้าน และหลังปีใหม่หากเป็นไปได้โรงงานไม่ต้องปิดดำเนินการ แต่ขอให้ตรวจ ATK พนักงานก่อนเข้าทำงานหลังกลับจากเทศกาลปีใหม่ และสุ่มตรวจเป็นระยะ เพื่อจับสัญญาณการระบาดให้เร็วที่สุด
ส่วนอุบลราชธานีตนได้ลงพื้นที่มาติดตามคลัสเตอร์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับคลัสเตอร์กาฬสินธุ์ คือ กรณีร้านอาหารกึ่งผับที่มีคนเข้าไปเที่ยวต่อเนื่องจากผับแห่งหนึ่ง ไปอีกแห่งหนึ่ง ที่จับตาอยู่คือสองจังหวัดนี้เพราะพบมีผู้ติดเชื้อวันหนึ่ง 300 คนขึ้นไป และขึ้นค่อนข้างเร็ว ต้องติดตามรายละเอียดกับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานีอีกครั้งว่าจะต้องมีมาตรการอย่างไร จะต้องปิดอะไรบ้าง เพราะฉะนั้นช่วงนี้เป็นช่วงที่คนกำลังเดินทาง ขอให้ตรวจ ATK เป็นระยะ อย่างน้อยกลับมาก็ตรวจ หากมีอาการก็ตรวจอีก หรือตรวจหลัง 7 วัน ย้ำเลยว่า ATK ช่วงนี้สำคัญมาก
เมื่อถามว่า ผลตรวจ ATK พบติดเชื้อมากน้อยแค่ไหนถึงจะปรับมาตรการ นพ.โอภาส กล่าวว่า คงดูลักษณะการระบาดมากกว่าเพราะเท่าที่ดู ดูเหมือนอาการไม่รุนแรง เช่น อุบลราชธานี 95% อาการน้อยมาก หากอาการน้อยจะใช้มาตรการ HI/CI เพื่อไม่ให้โรงพยาบาลล้นเกินไป ขณะนี้มีการประเมินสถานการณ์อยู่ทุกวัน
ถามถึงความเป็นไปได้การฉีดเข็ม 4 ในประชาชนทั่วไป นพ.โอภาส กล่าวว่า นอกจากบุคคลากรทางการแพทย์แล้ว ตอนนี้ก็ฉีดเข็ม 4 ตามแนวทางคือ กลุ่มที่มีความเสี่ยงมากกว่า และจะมีการเจาะเลือดตรวจภูมิคุ้มกันอีกครั้ง เพื่อดูว่าฉีดแล้วให้ผลเป็นอย่างไร และดูสถานการณ์โอมิครอนประกอบกัน เรื่องนี้จะประเมินหลังปีใหม่อีกครั้งว่าจะมีการประกาศเพิ่มหรือไม่ก่อน โดยนำเข้าสู่อนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน เข้าใจว่า คนที่ฉีดเข็ม 3 ครบ 3 เดือนแล้วน่าจะอยู่ที่ประมาณ 3 เดือนข้างหน้า ส่วนใหญ่อยู่พื้นที่ กทม. และตอนนี้ภูเก็ตเป็นอีกพื้นที่ที่มีการฉีดเข็ม 3 ได้ค่อนข้างเร็วก็จะใช้ตรงนี้เป็นโมเดลด้วย ทั้งนี้ปัจจุบันทั่วโลกยังไม่มีใครฉีดเข็ม 4 ระยะห่างยังไม่สามารถบอกได้
เมื่อถามถึงกรณีภูมิสูงเกินไปมีอันตรายหรือไม่ เนื่องจากมีหลายคนตะบี้ตะบันฉีด นพ.โอภาส กล่าวว่า นั่นเป็นทฤษฎี แต่ฉีดเร็วไป ฉีดติดๆ กันภูมิไม่ขึ้น หรือขึ้นไม่ดี ยิ่งฉีดห่างภูมิฯ จะขึ้นดี ดังนั้น ไม่ต้องไปฉีดติดๆ กัน การที่เราจะเลือกว่าต้องฉีดช่วงไหนนั้นต้องดู 2 อย่างประกอบกัน คือช่วงขึ้นกับช่วงที่โรคกำลังระบาด หากโรคไม่ระบาดก็สามารถเว้นระยะห่างในการฉีดได้เพื่อให้เกิดการกระตุ้นภูมิได้ดีและอยู่ได้นาน แต่หากโรคกําลังระบาดก็จำเป็นจะต้องเร่งฉีดวัคซีน ส่วนกรณีที่บอกว่าฉีดวัคซีนเยอะแล้วจะเกิดอันตรายนั้นที่ผ่านมายังไม่มี มีแต่พูดถึงทฤษฎี