ฮือฮา พระธาตุไร้เงา คณะนักวิจัยดาราศาสตร์ยกทีมพิสูจน์ยืนยัน

ฮือฮา พระธาตุไร้เงา คณะนักวิจัยดาราศาสตร์ยกทีมพิสูจน์ยืนยัน

วันที่ 11 เม.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อกลางดึกที่ผ่านมา (10 เม.ย.) นางอรพิน รินาพร้าว ผู้เชี่ยวชาญและหัวหน้ากลุ่มวิจัยการศึกษาประวัติศาสตร์และมรดกทางดาราศาสตร์(สดร.) สถาบันวิจัย ดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) กระทรวง อุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม พร้อมคณะเกือบ 10 คน ได้เดินทางเข้าติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีและดาราศาสตร์ที่ฐานพระเวียนรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช เพื่อถ่ายภาพพระบรมธาตุเจดีย์ และดาวรวงข้าวในมุมต่าง เพื่อนำไปประเมิน วิจัยคำนาณและวิเคราะห์และนำมาสู่การ บรรยายอธิบายทางวิชาการยืนยันเรื่องพระธาตุไร้เงา บทสะท้อนความมหัศจรรย์ของพระมหาธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช    

โดยผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.)กระทรวง อุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม และนางอรพิน รินาพร้าว ผู้เชี่ยวชาญและหัวหน้ากลุ่มวิจัยการศึกษาประวัติศาสตร์และมรดกทางดาราศาสตร์(สดร.) สถาบันวิจัย ดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) จะร่วมบรรยายทางวิชาการอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 เม.ย. 2568 ตั้งแต่เวลา 09.30 น.เป็นต้นไป โดยจะมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม นายภาณุ อุทัยรัตน์ อดีต ผู้ว่าราชการจังหงวัดนครศรีธรรมราช อดีต สว. ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มโครงการพระบรมธาตุมรดกโลกและผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งประชาชนที่สนใจทั้งจากส่วนลางและในจังหวัดนครศรีธรรมราชเข้าร่วมรับฟังจำนวนมากอย่างแน่นอน  

นางอรพิน รินาพร้าว ผู้เชี่ยวชาญและหัวหน้ากลุ่มวิจัยการศึกษาประวัติศาสตร์และมรดกทางดาราศาสตร์(สดร.) สถาบันวิจัย ดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) กล่าวว่า ทาง ผอ.สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติจะบรรยายอธิบายอย่างละเอียดในวันที่ 12 เม.ย. ณ.ห้องประชุมศาลา 100 ปี วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร  โดยจะอธิบายเรื่องการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ในแต่ละวันในรอบปีไม่ได้ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกตลอดเวลา ซึ่งจะมีอยู่วันหนึ่งที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่มาและเส้นโคจรมาตรงและตั้งฉากกับพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชพอดีตรงกับวันที่ 11 เม.ย.ของทุกปี เมื่อดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับองค์พระบรมธาตุเจดีย์จะเกิดปรากฏการณ์พระธาตุไร้เงาทันที  

สถาบันวิจัยทางดาราศาสตร์เคยเดินทางมาศึกษาวิจัยและนำไปคำนวณ วิเคราะห์ จนได้ข้อสรุปชัดเจนว่าพระธาตุนครศรีธรรมราชไร้เงาในวันที่ 11 เม.ย. ของทุกปี แต่ตอนนั้นเราไม่ได้ตั้งเป้าในศึกษาวิจัยเรื่องพระธาตุไร้เงา แต่เราเน้นศึกษารูปแบบการวางผังก่อสร้างยึดโยงเกี่ยวข้องกับหลักการใด เป็นไปตามคัมภีร์ไหน “ สิ่งที่คณะของพวกเราต้องกลับมาอีกครั้งเพราะมีสิ่งที่เป็นพิเศษโดยพบว่าตรงกับวันเถลิกศกสงกรานต์ หรือชาวนครเรียกว่า“วันรับเจ้าเมืองใหม่ เราคำนวณได้แบบนี้เพราะเป็นการวางผังกับดวงรวงข้าวเหมือนพระมหาธาตุสุโขทัย และแม้แต่พระปฐมเจดีย์ก็วางผังแบบนี้วางผังกับดาวรวงข้าวตอนตกจากขอบฟ้า ซึ่งดาวรวงข้าวจะอยู่ตรงข้ามกับวันที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศรีเมษ ที่เราเรียกว่าวันเถลิงศก ซึ่งเวลาดวงอาทิตย์มันอยู่ดาวอะไรจะสว่างแค่ไหนก็จะมองไม่เห็นคนโบราณจึงใช้ดาวที่อยู่ตรงข้ามพอดาวอวงนี้ตกปุ๊บดวงอาทิตย์ก็จะสาดส่องขึ้นมาวันนั้นคือ”วันปีใหม่”หรือ”วันเถลิงศก” และปรากฏการณ์นี้จะมีครั้งเดียวและเราคำนาณได้ว่าตรงกับวันที่ 11 เมษายน ซึ่งวันนั้นเกิดปรากฏการณ์ 2 ปรากฏการณ์คือ วันพระธาตุไร้เงา และวันเถลิงศกรับเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช  

นางอรพิน รินาพร้าว กล่าวอีกว่า มันไม่ใช่แค่นั้นเพราะเรามาคิดว่าในสมัยนั้นคนสร้างหรือวางวัน เวลาในการสร้างหรือสมโภชพระบรมธาตุ พราหมณ์ในสมัยนั้นเขาเอาความรู้เอาศาสตร์มาจากไหน คงไม่ใช่เอามาจากสุโขทัยเพราะสุโขทับมีหลักศิลาจารึกว่าเอาไปจากนครศรีธรรมราช แล้วนครศรีธรรมราชเอามาจากที่ไหนเป็นต้นแบบปรากฏว่าเมื่อเราลองไล่ดูในพิพักภูมิภาคใกล้ ๆ กันที่มีการวางศิลปะสถาปัตยกรรมแบบเดียวกัน และไปเจอที่อินเดียเมืองอนุราชปุระ คือพระมหาเจดีย์ เจดีย์รุวันเวลิ หรือ มหาถูปา หรือ มหาถูปา หรือ สุวรรณมาลิกเจดีย์ เป็นเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองอนุราชปุระ มีขนาดกว้าง 100 เมตร สูง 100 เมตร เป็นเจดีย์ทรงกลมฟองน้ำ มีกำแพงประดับด้วยช้างหินล้อมรอบรวม 362 เชื่อก มีเนื้อที่ 12.5 ไร่ ซึ่งมีการวางผังแบบเดียวกันที่สำคัญอยู่ในละติจูดเดียวกันตรงกันหมดเลยและจะต้องเกิดปรากฏการณ์เดียวกันในวันเดียวกันด้วย และมีอีกแห่งที่เหมือนกันอยู่ที่เมืองโบโบนานุระ เมืองหลวงที่สองของประเทศศรีลังกา คือพระมหาธาตุเจดีย์เจดีย์กิริเวเหระ จะวางผังเหมือนกันคือเอียงไปทางทิศเหนือนิด ๆ หมายถึงเอียงจากทิศตะวันออกไปทางทิศเหนือนิด ๆ เป็นการเอียงไปตามตำแหน่งดาวรวงข้าวตอนตก ศาสตร์ทั้งหมดมีระบุอยู่ในตำราคัมภีร์พระเวทย์ เชื่อมโยงศรีลังกาและประเทศอินเดีย  

ความเป็นพิเศษตรงนี้อาจจะเป็นต้นแบบของมหาธาตุที่สุโขทัยและพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม เพราะ     ฉนั้นองค์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชสำคัญมากที่เราอยากเปิดให้เด็ก เยาวชนรุ่นต่อ ๆ ไปให้เขาได้ร่วมกันรักษาพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชสืบต่อจากรุ่นเราต่อไปให้ดำรงคงอยู่อย่างยาวนานที่สุด ตนเป็นคน จ.เชียงราย แต่ก็เคารพศรัทธาองค์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชเป็นอย่างมาก เป็นพระธาตุใหญ่ท่าสุดของภาคใต้ คิดว่าไม่ใช่เฉพาะคนนครศรีธรรมราช แต่คนไทยและชาวพุทธทั่วโลกคิดเหมือนกันว่า “ในชีวิตหนึ่งของเราก็อยากจะมากราบสักการะพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชสักครั้งหนึ่ง  

ทางด้าน ผศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช และประธานดำเนินการรวบรวมเอกสารหลักฐานโครงการพระบรมธาตุมรดกโลก กล่าวว่า นี้เป็นคสวามรู้ใหม่ ๆ ที่สมควรจะได้รับการบันทึกเอาไว้อย่างหลากหลายรูปแบบ ที่เราเคยทำกันเป็นปกติคือการจัดพิมพ์เป็นหนังสือ ซึ่งจะมีการเรียบเรียงทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่ในยุคปัจจุบันตนจะบันทึกและเผยแพร่ทางยูทูปหรือสื่อออนไลน์ ทำให้แพร่กระจายในวงกว้าง โดยตนเชื่อว่าคนนครศรีธรรมราชและใกล้เคียงก็มีตวามรู้สึกเหมือนกันที่ยากรักษาพระบรมธาตุเจดีย์ และมีองค์ความรู้อะไรก็ถ่านทอดให้คนรุ่นต่อๆไป ในวันพรุ่งนี้จึงอยากเชิญชวนประชาชนทุกคนที่สนใจเข่าร่วมรับฟังการบรรยายทางวิชาการ เรื่องพระธาตุไร้เงา บทสะท้อนความมหัศจรรย์ของพระมหาธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช  อย่างละเอียดในวันที่ 12 เม.ย. ณ.ห้องประชุมศาลา 100 ปี วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

ผู้สื่อข่าวสยามนิวส์ จ.นครศรีธรรมราช รายงาน

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ