ดร.ด้านวัสดุศาสตร์ สวนกลับ ปภ. หลัง ผอ.บอกตึก สตง. 30 ชั้นถล่มเพราะยังไม่เซ็ตตัว

ดร.ด้านวัสดุศาสตร์ สวนกลับ ปภ. หลัง ผอ.บอกตึก สตง. 30 ชั้นถล่มเพราะยังไม่เซ็ตตัว

เมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2568 จากกรณีที่ นายสุริยชัย รวิวรรณ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการถล่มลงมาของอาคารสูง 30 ชั้นของ สตง. ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ว่าเกิดจากอาคารอยู่ระหว่างก่อสร้าง ความแข็งแรงของตัวอาคารยังไม่เซ็ตตัว หลังเกิดการสั่นไหวก็ทำให้พังลงมา โดยพังลงมาเป็นชั้นๆ เหมือนเค้ก

ล่าสุด ดร.ณัฐพงษ์ เชื้อวังคำ เจ้าของวิทยานิพนธ์นิพนธ์ดีเด่นระดับปริญญาเอก จากคณะวิทยาศาสตร์ ม.ขอนแก่น โดยมีความเชี่ยวชาญทางด้านวัสดุศาสตร์และนาโนเทคโนโลยี ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว โต้ตอบในประเด็นดังกล่าว ระบุว่า ตามที่ ปภ.เผย ว่าตึกยังไม่เซ็ตตัว จึงเกิดการถล่ม ตอนแรกกะจะปล่อยผ่าน แต่ด้วยประสบการณ์ทำวิจัยด้าน Cement Construction เอาสักหน่อยแล้วกัน

- ตึกที่สร้างจนถึง 30 ชั้นขนาดนี้ ไม่มีทางที่ซีเมนต์ยังไม่เซ็ตตัว (แต่ดูจากตาเปล่า ซีเมนต์แตกเป็นผงๆแห้งๆ แบบนั้น ไม่เกิดจากซีเมนต์ไม่ได้มาตรฐาน ก็บ่มน้ำไม่พอแน่ๆ)

- อธิบายปฏิกิริยา Hydration การเซ็ตตัวซีเมนต์แบบง่ายๆ คือ Cement+H2O = 3CSH+CaOH (จริงๆเกิดได้หลายเฟสมากกว่านี้ แต่เอาเฟสหลักๆ ที่ทำให้ซีเมนต์คอนกรีตแข็งแรง คือ 3CSH (ถือเป็นกระดูกสันหลังของโครงสร้างซีเมนต์)

- โดยปกติ ถ้าสูตรการผสมถูกต้อง (W/C ratio) ซีเมนต์จะรับแรงอัดได้สูง (Maximum Compressive Strength) ตั้งแต่ 28 - 90 วัน แล้วกราฟความแข็งแรงจะเริ่มลู่เข้าขนานกับแกน X (เวลา) (ซึ่งเวลาในการก่อสร้างโครงการนี้เกินแน่ๆ)

- ถ้าอยากพิสูจน์ในส่วนนี้ก็ไม่ยาก นำชิ้นส่วนเศษปูน ไปทดสอบ X-Ray Diffraction (XRD) ดูปริมาณของเฟส 3CSH ที่ได้กล่าวในตอนต้น

- สุดท้ายพอจะคาดเดาได้ว่า ไม่เป็นที่การออกแบบ Design โครงสร้าง ก็ต้องไปดูวัสดุอื่นๆ (เหล็ก, ชนิดซีเมนต์ น้ำ หินกรวด ทราย) ตรงตามสเปกหรือไม่

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ