
เปิดวิธีคำนวณบำเหน็จบำนาญ เงินเกษียณราชการ
กลุ่มข้าราชการ เมื่อถึงยามเกษียณจะได้รับเงินค่าครองชีพยามชรา จากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ซึ่งเป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 เป็นระบบออมเกษียณภาคบังคับสำหรับข้าราชการโดยเฉพาะ
สิทธิการรับเงินบำเหน็จบำนาญ จากกระทรวงการคลัง
สิทธิและเงินที่จะได้รับ กรณีเกษียณ (60 ปี)
สูงอายุ (ลาออกเมื่ออายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป)
ทุพพลภาพ
ทดแทน (ยุบ ยกเลิกตำแหน่ง ให้ออกโดยไม่มีความผิด ออกนอกระบบเกษียณก่อนกำหนด)
วิธีคำนวณบำเหน็จบำนาญ
เมื่อข้าราชการเกษียณอายุราชการ แบ่งเป็น 2 ประเภท
ผู้เป็นสมาชิก กบข.
ผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก กบข.
เป็นสมาชิก กบข. : เลือกรับบำนาญรายเดือน
ผู้ที่เป็นสมาชิก กบข. และเลือกรับบำนาญรายเดือน คือ ผู้ที่ยังไม่ต้องการตัดขาดจากระบบราชการ ประสงค์จะเป็นข้าราชการบำนาญ และรัฐยังอุดหนุนจุนเจือในด้านสวัสดิการต่างๆ อยู่ต่อไป เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร
ประโยชน์ที่ได้รับ
1.เงินก้อนจาก กบข. ประกอบด้วย
เงินชดเชย
เงินประเดิม
เงินสะสม
เงินสมทบ
เงินจากผลประโยชน์ตอบแทน
เงินส่วนนี้เป็นเงินก้อนใหญ่ก้อนแรกที่ทาง กบข. จัดให้ สามารถตรวจสอบยอดเงินก้อนนี้ได้จากใบแจ้งยอดของ กบข. ที่แจ้งมาให้ทราบในทุกสิ้นปี พร้อมกับหลักฐานเพื่อลดหย่อยภาษีประจำปี
2.เงินบำนาญรายเดือน : คำนวณจาก อายุราชการ × เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ÷ 50 แต่ต้องไม่เกิน 70% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
ยกตัวอย่าง มีเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายเท่ากับ 30,000 บาท และอายุราชการ 35 ปี
วิธีคำนวณ 30,000 x 35 / 50 = 21,000 บาท
แต่! เงินบำนาญที่จะได้รับต้องไม่เกิน 70% ของเงินเดือน เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
สรุป : กรณีรับเงินบำนาญ นับอายุราชการสูงสุดที่ 35 ปี
3.เงินบำเหน็จดำรงชีพ : จะได้ 15 เท่า ของบำนาญรายเดือน แต่ไม่เกิน 400,000 บาท โดยแบ่งจ่าย 2 ครั้ง
ครั้งแรกไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อปลดเกษียณ
ครั้งที่ 2 เมื่ออายุครบ 65 ปี จ่ายที่เหลือ
จากกรณีที่ยกตัวอย่างจะได้ 15 เท่าของ 21,000 บาท เป็นเงิน 315,000 บาท จ่ายเมื่อปลดเกษียณไปแล้ว 200,000 บาท เมื่อครบ 65 ปี ก็จะจ่ายอีก 115,000 บาท
4.เงินบำเหน็จตกทอด : เมื่อผู้รับบำนาญถึงแก่กรรมก็จะมีบำเหน็จตกทอดแก่ทายาทอีก 30 เท่า ของบำนาญรายเดือน
จากกรณีตัวอย่าง ทายาทจะได้ 315,000 บาท คำนวณได้เท่าไรก็รับไปทั้งหมดโดยไม่แบ่งจ่าย
ทั้งนี้ ทายาทที่จะได้จะเป็นทายาทที่ผู้ถึงแก่ความตายได้แสดงเจตนาไว้ เป็นสมาชิก กบข. : เลือกรับบำเหน็จ
เป็นผู้ที่ต้องการเงินก้อนในคราวเดียว
1. เงินก้อนแรกจาก กบข. ประกอบด้วย
เงินสะสม
เงินสมทบ
เงินจากผลประโยชน์ตอบแทน
เงินส่วนนี้เป็นเงินก้อนใหญ่ก้อนแรกที่ทาง กบข. จัดให้สามารถตรวจสอบยอดเงินก้อนนี้ได้จากใบแจ้งยอดของ กบข. ที่แจ้งมาให้ทราบในทุกสิ้นปี พร้อมกับหลักฐานเพื่อลดหย่อยภาษีประจำปี
2.เงินบำเหน็จ : คำนวณจาก อายุราชการ × เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
เช่น เงินเดือนสุดท้ายเท่ากับ 30,000 บาท และอายุราชการ 35 ปี จะคำนวณได้เท่ากับ 30,000 x 35 = 1,050,000 บาท
ไม่เป็นสมาชิก กบข.
รับบำนาญ : เงินเดือน เดือนสุดท้าย x อายุราชการ ÷ 50
เช่น เงินเดือน 36,020 x อายุราชการ 35 ปี นำมาคำนวณได้เท่าไรก็รับไป
นอกจากนี้ ผู้ที่เลือกรับบำนาญจะได้เงินบำเหน็จดำรงชีพ และเงินบำเหน็จตกทอดเช่นเดียวกับสมาชิก กบข. บำนาญที่จะได้รับคือ 25,214 บาท
รับบำเหน็จ : นำเงินเดือน เดือนสุดท้าย x อายุราชการ
เช่น เงินเดือน 36,020 บาท อายุราชการ 35 ปี เงินที่จะได้รับคือ 1,260,700 บาท คำนวณได้เท่าไรก็จะได้รับทั้งหมด