
เปิด 10 เขต ในกรุงเทพฯ ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการจมน้ำ ถ้าไม่แก้ปัญหาให้ทันท่วงที
จากการคาดการณ์ว่า ในปี 2050 หรือ อีกประมาณ 25 ปี น้ำทะเลจะหนุนเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 20 - 30 เซนติเมตร ซึ่งหลายพื้นที่ของกรุงเทพอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล รวมไปถึงยังมีโครงสร้างพื้นฐานใต้ดินที่น่าเป็นห่วง ตลอดจนปัญหาดินทรุดด้วย
ปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้เกิดน้ำท่วม
1. ปริมาณฝนที่ตกลงมา ขณะนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 5-10% ต่อปี
2. การทรุดตัวของแผ่นดิน ซึ่งในอดีตแผ่นดินกรุงเทพฯ จะทรุดตัวต่ำลงประมาณปีละ 100 มม.แต่ในปัจจุบันหลังมีมาตรการห้ามขุดเจาะน้ำบาดาล อัตราการทรุดตัวเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ10-20 มม.
3. ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มีอัตราน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉลี่ยปีละประมาณ 3 มม.
4. ผังเมืองและความแออัดของชุมชนเมือง ทำให้พื้นที่สีเขียวหรือพื้นที่ชุ่มน้ำของกรุงเทพฯ ลดลงกว่า 50% เมื่อมีน้ำเหนือไหลมาหรือมีปริมาณฝนมากขึ้นจึงไม่มีพื้นที่รองรับน้ำ
ซึ่งทาง researchgate ได้มีการทำแผนผังสรุปข้อมูลออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า โซนไหนของกรุงเทพนั้น ที่มีโอกาสจมน้ำสูง ถ้าไม่มีการแก้ปัญหาอย่างทันถ้วงที
เปิด 10 เขต ในกรุงเทพ ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการจมน้ำ ถ้าไม่แก้ปัญหาให้ทันท่วงที
เขตริมแม่น้ำเจ้าพระยา
- บางคอแหลม
- บางรัก
- ธนบุรี
- บางกอกใหญ่
- บางกอกน้อย
เขตที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล
- บางนา
- บางกะปิ
- รามคำแหง
เขตที่มีระบบระบายน้ำไม่ดี
- บางเขน
- ดอนเมือง
สำหรับการป้องกันและแก้ไขปัญหา ประกอบไปด้วย
- การปรับปรุงระบบระบายน้ำ : การขุดลอกคูคลอง การสร้างอุโมงค์ระบายน้ำ และการเพิ่มประสิทธิภาพของสถานีสูบน้ำ
- การบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ : การวางแผนการใช้น้ำอย่างเหมาะสม และการจัดการน้ำท่วมอย่างรวดเร็ว
- การสร้างอาคารที่แข็งแรงและทนทานต่อน้ำท่วม : การออกแบบอาคารให้สามารถทนต่อน้ำท่วมได้
- การสร้างจิตสำนึกให้ประชาชน : การให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาและร่วมมือกันแก้ไขปัญหา
ข้อมูล sanook.com