วิธีตรวจสอบสถานะบัญชี รับเงินคืน กยศ. โอนผ่านพร้อมเพย์ หลังคำนวณยอดหนี้ใหม่

วิธีตรวจสอบสถานะบัญชี รับเงินคืน กยศ. โอนผ่านพร้อมเพย์ หลังคำนวณยอดหนี้ใหม่

จากการที่ กยศ. ได้ดำเนินการคำนวณยอดหนี้ใหม่ (Recalculation) ของผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างการชำระเงินคืนตามประกาศคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เรื่อง การปรับปรุงยอดหนี้ของผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา นำรายการชำระหนี้ของผู้กู้ยืมแต่ละรายที่ได้ชำระเงินคืนนับแต่วันที่ครบกำหนดชำระหนี้ครั้งแรกมาคำนวณหนี้ใหม่

โดยเปลี่ยนลำดับการตัดชำระหนี้เป็นตัดชำระเงินต้นเฉพาะส่วนที่ครบกำหนด ดอกเบี้ย และเบี้ยปรับตามลำดับ รวมทั้งคิดดอกเบี้ยในอัตรา 1% ต่อปี และลดเบี้ยปรับเหลือเพียงอัตรา 0.5% ต่อปี

จึงเป็นผลให้ผู้กู้ยืมบางรายไม่มียอดหนี้คงเหลือ แต่หากยังมียอดหนี้คงเหลือจะต้องชำระหนี้ต่อไป และหากมีเงินส่วนเกินจากยอดหนี้ที่คำนวณใหม่ ผู้กู้ยืมมีสิทธิขอรับเงินคืนได้

ซึ่งจากการที่ กยศ. ได้ดำเนินการคำนวณยอดหนี้ใหม่ (Recalculation) ดังกล่าวให้กับผู้กู้ยืมประมาณ 3.8 ล้านบัญชี แล้วพบว่า มีกลุ่มผู้กู้ยืมที่ยังมียอดหนี้คงเหลือประมาณ 3.5 ล้านบัญชี กลุ่มผู้กู้ยืมจะได้รับเงินคืนประมาณ 2.8 แสนบัญชี

กยศ. ได้ดำเนินการส่ง SMS แจ้งให้ผู้กู้ยืมทุกรายได้รับทราบมีข้อความว่า “ตรวจสอบสถานะบัญชีผู้กู้ที่เว็บไซต์ กยศ/ ขออภัยหากไม่ใช่ผู้กู้”

ทั้งนี้ เมื่อผู้กู้ยืมเข้าระบบตรวจสอบสถานะบัญชีผู้กู้ยืมที่เว็บไซต์ www.studentloan.or.th แล้ว หากมีสิทธิได้รับเงินคืนจะสามารถลงทะเบียนขอรับเงินคืนได้

โดย กยศ. จะคืนเงินส่วนเกินผ่านระบบโอนเงินแบบพร้อมเพย์ที่ผูกบัญชีธนาคารด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้กู้ยืมเท่านั้น ซึ่งมีความปลอดภัยและตรวจสอบได้แน่นอน

วิธีตรวจสอบสถานะบัญชีผู้กู้ยืม กยศ.

1.เข้าเว็บไซต์ www.studentloan.or.th

2.เลือกเมนู "ตรวจสอบสถานะบัญชีผู้กู้ยืม"

3.กรอกข้อมูลตามบัตรประชาชน

4.กดยืนยันการลงทะเบียน

วิธีลงทะเบียนขอรับเงินคืน กยศ.

วิธีลงทะเบียนขอรับเงินคืน

1.เข้าเว็บไซต์ www.studentloan.or.th

2.เลือกเมนู "ลงทะเบียนขอรับเงินคืน กรณีคำนวณหนี้ใหม่"

3.กรอกข้อมูลเลขบัตรประชาชน

4.กดยืนยันการลงทะเบียน

ลูกหนี้ กยศ. ขยายเวลาผ่อนชำระ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน

สำหรับผู้กู้ยืมที่ยังมียอดหนี้คงเหลือ กยศ. ขอเชิญชวนให้มาปรับโครงสร้างหนี้เพื่อขยายเวลาผ่อนชำระ ซึ่งจะทำให้การผ่อนชำระหนี้ต่อเดือนน้อยลง และเป็นการปลดภาระผู้ค้ำประกัน

กยศ. จะใช้ยอดหนี้ที่ได้คำนวณใหม่นี้เพื่อทำสัญญาให้แก่ผู้กู้ยืมในการทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ และเมื่อระบบ กยศ.Connect ปรับปรุงเสร็จสมบูรณ์แล้วยอดหนี้ทั้งหมดจะถูกปรับโดยอัตโนมัติและจะแสดงในแอปพลิเคชัน กยศ.Connect ต่อไป

ขอบคุณข้อมูลจาก กยศ.

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ