แก้บนมวย 9 คู่ ฉลองวิหารหลวงพ่อน้อยเกจิย์อาจารย์ดัง พร้อมส่องเลขเด็ด ลุ้นโชครวย

แก้บนมวย 9 คู่ ฉลองวิหารหลวงพ่อน้อยเกจิย์อาจารย์ดัง พร้อมส่องเลขเด็ด ลุ้นโชครวย

เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วัดป่ายาง ต.ศรีพนมมาศ อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ ชาวอำเภอลับแล ร่วมใจจัดพิธีเฉลิมฉลองวิหารหลวงพ่อน้อย (พระอุปัชฌาย์องค์แรกของอำเภอลับแล)ขนาดความสูงของวิหาร 8 เมตร ที่ชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อทดแทนกุฏิหลังเก่า โดยในพิธีได้มีการจัดพิธีกรรมทางศาสนาฉลองวิหารหลวงพ่อน้อย มีพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ 9 รูป รับทักษิณานุปทานพร้อม เจริญพระพุทธมนต์ฉลองวิหาร มีการแสดงพระธรรมเทศนา 2 ธรรมมาสน์

จากนัั้นนางฟ้อนของชาวอำเภอลับแลกว่า 50 คนได้นำเครื่องสักการะ 5 ประการได้แก่ หมากสุ่ม , หมากเบง , ต้นเทียน , ต้นดอก , ต้นผึ้ง , หมากพลู , ข้าวตอกดอกไม้ , ขันธ์ 5 เข้าถวายสักการะรูปหล่อองค์หลวงพ่อน้อยพร้อมได้ร่วมกันร่ายรำตามแบบฉบับของชาวลับแลเพื่อถวายแด่เทพเทวาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในมลฑลพิธี

ต่อมา ชาวบ้านต่างพากันเข้ากราบสักการะพร้อมปิดทององค์หลวงพ่อน้อยและได้มีการจุดธูปเสี่ยงทาย ซึ่งเลขที่ปรากฏในธูปเสี่ยงทาย คือเลข 676 ซึ่งชาวบ้านก็จะได้นำไปเป็นแนวทางในการเสี่ยงโชคในงวดต่อไป

นอกจากนี้ นายจำรัส แก้วเบี้ย อายุ 88 ปี ชาวอำเภอลับแล ยังได้จัดพิธีแก้บนหลวงพ่อน้อย ด้วยหัวหมู 9 หัว และจัดให้มีการชกมวยบนเวที 9 คู่ ซึ่งก็ได้มีชาวบ้านในชุมชนมาร่วมรับชมเชียร์ ในการชกมวยในครั้งนี้จำนวนมาก

นายจำรัส เล่าว่า ตนเองได้มาอธิฐานขอพรบนกับหลวงพ่อน้อยไว้ว่า หากหลานสาวของตนได้สอบติดครู จะนำหัวหมู 9 หัว มวย 9 คู่มาทำการชกแก้บน  ซึ่งจากคำขอดังกล่าวหลานสาวของตนได้สอบติดครูจริงตามที่อธิฐานขอไว้กับหลวง วันนี้จึงได้นำมวย 9 คู่มาทำการแก้บนดังกล่าว

สำหรับหลวงพ่อน้อยเคยศึกษาหนังสือและวิชาอาคมต่างๆที่วัดม่อนปรางค์  ต.ศรีพนมมาศ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ และท่านยังเป็นพระอุปฌาย์องค์แรกของอำเภอลับแล ได้บวชกุลบุตรผู้ศรัทธาในบวรพุทธศาสนามากมาย ยังเป็นปฐมสมภารของวัดป่ายางอีกด้วย

หลวงพ่อน้อยมรณภาพด้วยโรคชราเมื่อปี พศ.2453 ที่วัดป่ายาง สิริมายุได้ 99 ปี 78 พรรษา ในขณะนั้นได้มีการจัดงานศพอย่างยิ่งใหญ่รวม 13 วัน 13 คืน มีประชาชนร่วมงานอย่างมากมาย ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่า ในขณะเคลื่อนศพเพื่อไปฌาปนกิจที่เมรุชั่วคราวกลางทุ่งนาวัดป่ายาง มัคทายกวัดและชาวบ้านพยายามชักจูงรถศพ แต่พยายามเท่าไรรถก็ไม่ยอมเคลื่อน และก็ได้เกิดพายุพัดอื้ออึงจนฝุ่นตลบอบอวลไปทั่วบริเวณ มัคทายกได้จุดธูปบอกกล่าวและขอขมาลาโทษหลวงพ่อ เมื่อบอกกล่าวเสร็จ พายุจึงค่อยๆสงบลง มัคทายกและชาวบ้านเพียงแค่ 3 คนก็สามารถเคลื่อนศพหลวงพ่อสู่จิตกาธารได้สำเร็จ

ภายหลังจากการฌาปกิจสรีระร่างหลวงพ่อน้อยเป็นที่เรียบร้อย ต่อมาชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างรูปปั้นของหลวงพ่อน้อย และได้นำมาประดิษฐานให้คนกราบไว้ขอพร ณ.กุฏิหลังเก่าที่หลวงพ่อน้อยเคยใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรม ณ.วัดป่ายางแห่งนี้  

จากนั้น ได้มีชาวบ้านมาขอโชคขอลาภ ตลอดถึงหน้าที่การงาน ก็มักจะประสบผลสำเร็จกันอยู่เป็นประจำ เมื่อผู้ที่มาอธิฐานขอสิ่งที่ปารถนาสำเร็จก็มีการมาทำการแก้บนตามแต่ที่ละคนได้บนไว้

สมัยที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ลูกศิษย์และชาวบ้านผู้ศรัทธาเลื่อมใสใด้มาขอให้หลวงพ่อทำตะกรุดให้เพื่อป้องกันตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีลูกหลานที่จะไปรบสงครามเชียงตุงในสมัยนั้น ตะกรุดที่หลวงพ่อได้สร้างมีทั้งเนื้อทองคำเนื้อเงิน เนื้อทองแดง เนื้อทองเหลือง ฝาบาตร และเนื้อตะกั่วดิบนอกจากนั้นก็มีจะกรุดลูกคั่น (ลูกสะกด) จะกรุดเจ็ดอกเจ็ดตัน ผ้าประเจียดผืนใหญ่สำหรับติดเพดานบ้าน ผ้ายันต์สามเหลี่ยมชายธงเป็นต้น

ตะกรุดที่นักนิยมพระเครื่องและเครื่องรางของขลังรุ่นเก่าแสวงหากันมากและรุ่นปัจจุบันเป็นที่นิยมของนักนิยมพระเครื่องทั่วไปคือ ตะกรุดเทวดาขี่เสือกุมพระชรรค์ ซึ่งได้สร้างปาฏิหาริยให้กับผู้ที่แขวนติดตัวได้แคล้วคลาดปลอดภัยจากยันตรายต่างๆ ชนิดเชื่อถือได้จริง ๆ

ผู้สื่อข่าวจังหวัดอุตรดิตถ์ รายงาน

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ