เตือนด่วน คนกรุงเทพ ทุกพื้นที่
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร ขอรายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพมหานคร ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 43.3 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.)
5 อันดับ ของค่าฝุ่น PM2.5 เขตสูงสุดในกรุงเทพมหานคร
1. เขตหนองแขม 52.9 มคก./ลบ.ม.
2. เขตธนบุรี 50.8 มคก./ลบ.ม.
3. เขตคลองสามวา 50.1 มคก./ลบ.ม.
4. เขตสัมพันธวงศ์ 50.1 มคก./ลบ.ม.
5. เขตพระโขนง 49.5 มคก./ลบ.ม.
กรุงเทพเหนือ
39.8 - 45.1 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรุงเทพตะวันออก
38.5 - 50.1 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรุงเทพกลาง
37.7 - 50.1 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรุงเทพใต้
38.3 - 49.5 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรุงธนเหนือ
41- 50.8 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรุงธนใต้
44.3 - 52.9 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ฝุ่นละอองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ภาพรวม : คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ข้อแนะนำสุขภาพ
คุณภาพอากาศระดับสีส้ม: เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
รศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร ได้โพสต์เฟซบุ๊กเตือนว่า แม้อากาศจะเย็นเหมาะกับการออกไปวิ่งมาก แต่ค่า PM2.5 แบบนี้ไม่แนะนำอย่างยิ่งครับ ขณะออกกำลังกายอัตราหายใจจะสูงมาก อาจสูงถึง 150-200 ลิตร/นาที ในขณะปกติจะอยู่ที่ 6-10 ลิตร/นาที เหมือนเราหายใจเอามลพิษเข้าปอด 15-20 เท่าของคนปกติครับ ระยะสั้นทำให้หลอดเลือดอักเสบ เส้นเลือดหัวใจตีบ เส้นเลือดสมองตีบ หอบหืด ระยะยาวก่อมะเร็ง
อยู่ภายในอาคาร เปิดเครื่องฟอกเต็มที่ กดให้ต่ำที่สุดพยายามให้น้อยกว่า 10 ช่วงนี้วิ่งลู่ไปก่อน