เปิด 4 จังหวัด เคาะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 มีผล 1 ม.ค. 68

เปิด 4 จังหวัด เคาะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 มีผล 1 ม.ค. 68

วันที่ 23 ธันวาคม 2567 คืบหน้าล่าสุดปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ล่าสุดยังไม่ได้มีการปรับขึ้นทั่วประเทศ แต่มีการปรับขึ้นเฉพาะใน 4 จังหวัดและ 1 อำเภอ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้นปี 2568 โดยกระทรวงแรงงานได้ประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ครั้งที่ 11/2567 นำโดยนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน และประธานบอร์ดค่าจ้าง เพื่อพิจารณาการปรับค่าแรงขั้นต่ำตามนโยบายรัฐบาล โดยตั้งเป้าให้ค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาททั่วประเทศ

เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับผู้ใช้แรงงานในครั้งนี้ กรรมการไตรภาคี ประกอบด้วย ฝ่ายรัฐ จำนวน 5 คน, ฝ่ายนายจ้าง จำนวน 5 คน และฝ่ายลูกจ้าง จำนวน 5 คน รวม 15 คน เข้าร่วมครบองค์ประชุม ใช้เวลาหารือนานกว่า 5 ชั่วโมง ได้มีมติปรับค่าแรงขั้นต่ำปี 2568 เพิ่มขึ้นวันละ 7–55 บาท หรือเฉลี่ยร้อยละ 2.9 โดยแบ่งออกเป็น 17 ระดับ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ดังนี้

1. ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 400 บาท สำหรับ 4 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง และ 1 อำเภอ คือ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี

2. ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 380 บาท สำหรับ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ และ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

3. ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 372 บาท สำหรับกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวม 6 จังหวัด

4. ค่าแรงขั้นต่ำใน 67 จังหวัดที่เหลือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ไม่ได้ขึ้นทั่วประเทศ เปิด 4 จังหวัด เคาะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 มีผล 1 ม.ค. 68 ไม่ได้ขึ้นทั่วประเทศ เปิด 4 จังหวัด เคาะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 มีผล 1 ม.ค. 68

ผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรง ผลดี

เพิ่มกำลังซื้อของประชาชน

กระตุ้นเศรษฐกิจ

ยกระดับคุณภาพชีวิต

ลดความเหลื่อมล้ำ

ผลเสีย

ผู้ประกอบการอาจมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น

อาจส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าและบริการ

อาจมีการเลิกจ้างพนักงานในบางอุตสาหกรรม

ใครได้ประโยชน์จากการปรับขึ้นค่าแรง?

ผู้ใช้แรงงาน ได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้น สามารถดูแลครอบครัวได้ดีขึ้น

เศรษฐกิจ กำลังซื้อภายในประเทศเพิ่มขึ้น ช่วยให้เศรษฐกิจเติบโต

ใครอาจได้รับผลกระทบ?

ผู้ประกอบการ ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น อาจต้องปรับราคาสินค้าหรือบริการ

ผู้บริโภค ราคาสินค้าและบริการอาจสูงขึ้น

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ