ปิดตำนานกงจู แก๊งหลอกคนไทยไปทำงานต่างประเทศ
กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ (บก.ปคม.) เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุม นำโดย ว่าที่ พ.ต.อ.ก่อเกียรติ วุฒิจำนงค์ ผกก.1 บก.ปคม., พ.ต.ท.ชัยชนะ สุริยวงค์ รอง ผกก.(สอบสวน) กก.1 บก.ปคม., พ.ต.ท.นิติ ด่านไพบูลย์, พ.ต.ท.เอกรณการ นาคนิยม รอง ผกก.1 บก.ปคม. ร่วมกันจับกุม
1. นายอดิเรก อายุ 29 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา ที่ 5791/2567 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567
2. น.ส.จรรยาหรือกุ้ง อายุ 37 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา ที่ 5792/2567 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567
3. น.ส.รจนาหรือรจ อายุ 41 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา ที่ 5796/2567 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567
4. นายโอฬาร อายุ 43 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา ที่ 5797/2567 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567
5. นายธนกฤต อายุ 64 ปี
โดยกล่าวหาว่ากระทำผิดฐาน “หลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานหรือสามารถส่งไปฝึกงานในต่างประเทศได้และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวง, ฉ้อโกงโดยได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน หรือด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน, สมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป เพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงินและได้มีการกระทำฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน และร่วมกันฟอกเงิน”
ร่วมกันจับกุม
1. นายไฮไซหรือคิม อายุ 41 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา ที่ 5793/2567 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567
2 นางสุกัญญาหรือเจ๊หมวย อายุ 64 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา ที่ 5794/2567 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567
3. น.ส.สุภาภรณ์หรือออม อายุ 48 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา ที่ 5795/2567 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567
โดยกล่าวหาว่ากระทำผิดฐาน “หลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานหรือสามารถส่งไปฝึกงานในต่างประเทศได้และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวง, ฉ้อโกงโดยได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน หรือด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน”
ตรวจยึดทรัพย์สิน จำนวน 11 รายการ
1. สมุดบัญชีธนาคาร จำนวน 17 เล่ม
2. ธนบัตรสกุลเงินไทย และต่างชาติ รวมประมาณ 10,000 บาท
3. โฉนดที่ดิน หมู่บ้านแลนซิโอ 300/35 แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กทม.
4. รถยนต์ จำนวน 2 คัน
4.1 ยี่ห้อ BMW รุ่น 220i ราคาประมาณ 2,100,000 บาท
4.2 ยี่ห้อ TOYOTA รุ่นยาริส ราคาประมาณ 350,000 บาท
5. รถจักรยานยนต์
5.1 ยี่ห้อ BMW จำนวน 1 คัน ราคาประมาณ 430,000 บาท
6. พระเครื่อง จำนวน 7 องค์
7. ทองคำ น้ำหนัก 10 บาท ราคาประมาณ 420,000 บาท
8. เอกสารการที่เกึ่ยวข้องกับการขอสมัครงานเพื่อขอวีซ่าไปทำงานประเทศนิวซีแลนด์
9. เอกสารสมัครงานของคนไทย พร้อมหนังสือเดินทาง (passport) เพื่อไปทำงานที่ประเทศเกาหลีใต้ จำนวน 450 เล่ม
10. โทรศัพท์มือถือ 9 เครื่อง
11. คอมพิวเตอร์ จำนวน 4 เครื่อง
สถานที่จับกุม/ตรวจยึด บ้านพักในพื้นที่ จว.ปทุมธานี, จว.สมุทรสาคร และ กรุงเทพมหานคร จำนวน 5 แห่ง
พฤติการณ์ ด้วยกองกำกับการ 1 กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ ได้รับหนังสือร้องทุกข์ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง ตามหนังสือ กรมการจัดหางาน ที่ รง. 0302.2/213261 ลง 16 ก.ย. 67 เรื่อง ขอความร่วมมือดำเนินคดีกับผู้ฝ่าฝืน พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฯ ตามที่กรมการจัดหางานได้รับเรื่องร้องทุกข์จากผู้เสียหาย
จากการสืบสวนมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่า กลุ่มผู้ต้องหากระทำการเป็นขบวนการหลอกลวง เริ่มหลอกลวงประชาชนทั่วไป ตั้งแต่ประมาณปลายเดือน ธ.ค. 66 - ก.ค. 67 ( ประมาณ 10 เดือน ) โดยได้ร่วมกันสมคบคิดไตร่ตรองและตระเตรียมการไว้ก่อนหน้าการกระทำดังกล่าว โดยวางแผนแบ่งหน้าที่กันทำตลอดเรื่อยมา
โดยผู้ต้องหากลุ่มแรกจะทำหน้าที่จดทะเบียนบริษัท บังหน้าว่าเป็นบริษัทจัดหางาน เพื่อส่งแรงงานไปทำงานที่ต่างประเทศ จากนั้นผู้ต้องหาอีกกลุ่มจะทำการหว่านล้อม และหลอกลวงประชาชนทั่วไปว่า สามารถยื่นขอวีซ่าและจัดหางานที่ประเทศนิวซีแลนด์ให้ได้ เนื่องจากได้รับสิทธิ (โควต้า) จากนายจ้างที่ประเทศนิวซีแลนด์ ให้หาคนไปทำงานประเภทงานเกษตร งานช่างตกแต่ง โรงงานขนมปัง ซึ่งนายจ้างและงานทั้งหมดไม่มีอยู่จริง โดยจะมีการตระเตรียมนัดประชุมวางแผนหลอกลวงผู้เสียหายที่บ้านพักของผู้ต้องหาในพื้นที่กรุงเทพฯ และอาคารพาณิชย์ฯ ในพื้นที่ สุขุมวิทซอย 13 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ โดยผู้ต้องหาจะนัดหมายให้ผู้เสียหายมาทำเอกสารตามวันและเวลาต่างๆที่ผู้ต้องหานัดหมาย ซึ่งจะมีการสร้างความน่าเชื่อถือโดยการหลอกลวงว่าเคยมีผู้สมัครแล้วได้ไปทำงานได้จริง
นอกจากนี้จากการตรวจสอบเอกสารยังพบเอกสารที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น มีการหลอกลวงผู้เสียหายว่าได้รับวีซ่าประเภทถาวร และมีการเรียกเก็บเงินค่าบริการเกินราคามาตรฐานบริษัทจัดหางานทั่วไป โดยไม่ได้มีเจตนาจัดหางานให้ผู้เสียหายทั้ง 13 คน ไปทำงานที่ประเทศนิวซีแลนด์ได้จริง นอกจากนี้ยังพบว่ามีการหลอกลวงผู้เสียหายโดยใช้แผนประทุษกรรมรูปแบบเดิม สร้างความเสียหายต่อประชาชนผู้ที่ต้องการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ และมีผู้ตกเป็นเหยื่อจำนวนมาก
ต่อมาวันที่ 3 ธันวาคม 2567 เจ้าพนักงานตำรวจชุดจับกุมจึงได้วางแผนและเดินทางไปเฝ้ารอสังเกตการณ์ เมื่อถึงเวลาประมาณ 06.00 น. ได้พบผู้ต้องหาทั้ง 7 ราย บริเวณสถานที่จับกุม จากนั้นได้นำตัวผู้ต้องหาทั้งหมดส่ง พนักงานสอบสวน กก.1 บก.ปคม. เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป จากการตรวจสอบในคดีนี้มีผู้เสียหายในคดี จำนวน 13 ราย รวมทรัพย์สินที่ถูกประทุษร้าย 3,197,680 บาท มียอดความเสียหายที่น่าเชื่อว่าได้จากการหลอกลวง จำนวนทั้งสิ้น 9,231,620 บาท คาดว่าจะมีผู้เสียหายประมาณ 35 ราย
ผู้สื่อข่าวสยามนิวส์ นครบาล รายงาน