รวบ ผัวเมีย หลอกขายทุกอย่าง ผู้เสียหายหลายสิบราย มีหมายจับรวมกัน 6 หมาย
เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2567 พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. พล.ต.ต.วสันต์ เตชะอัครเกษม รอง ผบช.น. ,พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. , พ.ต.อ.วรพจน์ รุ่งกระจ่าง ,พ.ต.อ.เกียรติศักดิ์ สระทองออย รอง ผบก สส.บช.น. , พ.ต.อ.จักราวุธ คล้ายนิล ผกก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ บก.สส.บช.น. , พ.ต.ท.พัชรพงษ์ กาญจนวัฏศรี , พ.ต.ท.นิธิ ปิยะพันธุ์ รอง ผกก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ บก.สส.บช.น. ได้สั่งการให้ พ.ต.ต.ทศรัสมิ์ กิติธารา สว.กก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ บก.สส.บช.น. พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.วิเคราะห์ข่าวฯ ชุดปฏิบัติการที่ 4 ได้จับกุมตัว
1. นางสาวมารินทร์ อายุ 23 ปี ภูมิลำเนา ต.รำมะสัก อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง ผู้ต้องหาตามหมายจับ 5 หมายจับ
1. ตามหมายจับศาลจังหวัดนนทบุรี ที่ 127/2566 ลงวันที่ 2 มีนาคม 2566 ข้อหา “ฉ้อโกงประชาชน”
2. ตามหมายจับศาลจังหวัดลำปาง ที่ 147/2565 ลงวันที่ 2 สิงหาคม 2565 ข้อหา “ร่วมกันฉ้อโกง,ฉ้อโกงประชาชนและโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่ประชาชน”
3 .ตามหมายจับศาลจังหวัดลำปาง ที่ 100/2566 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2566 ข้อหา “ฉ้อโกงประชาชน และโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่ประชาชน”
4. ตามหมายจับศาลจังหวัดเชียงใหม่ ที่ จ.1441/2567 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2567 ข้อหา “ฉ้อโกงประชาชน และโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่ประชาชน ”
5. ตามหมายจับศาลจังหวัดเชียงใหม่ ที่ จ.1447/2567 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2567 ข้อหา “ฉ้อโกงประชาชน และโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่ประชาชน ”
2. นายธนวิชญ์ อายุ 22 ปี ภูมิลำเนา ต.ไร่เก่า อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ ตามหมายจับศาลอาญากรุงเทพใต้ ที่ 339/2567 ลงวันที่ 5 เมษายน 2567
ข้อหา “ฉ้อโกงประชาชน โดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่ประชาชน
จับกุม บริเวณถนนไม่ทราบชื่อ ม.2 ต.ไร่เก่า อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์
พฤติการณ์กล่าวคือ นายธนวิชญ์ และ นางสาวมารินทร์ สองผัวเมีย มีพฤติกรรมหลอกขายของออนไลน์ทุกชนิด อาทิเช่น บัตรคอนเสิร์ต เสื้อผ้า กระเป๋า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอีกหลายรายการ มีการแจ้งเตือนในเว็บไซต์ Blacklistseller ทั้งหมดจำนวน 49 รายการ โดยมีพฤติการณ์คือการลงขายสินค้าตามกลุ่มต่างๆในเฟสบุ๊คในราคาถูก เมื่อมีผู้สนใจเข้ามาสอบถามก็จะพยายามส่งหลักฐานเอกสารต่างๆเพื่อเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ซื้อสินค้า จนผู้ซื้อสินค้ามั่นใจว่ามีตัวตนแน่นอนและทำการโอนให้ นายธนวิชญ์ และ นางสาวมารินทร์ ก็จะขาดการติดต่อไปทันทีและไม่ได้มีการส่งสินค้าให้แก่ผู้เสียหายแต่อย่างใด ซึ่งพฤติการณ์ดังกล่าวทำให้มีผู้หลงเชื่อและถูกหลอกเป็นจำนวนมาก แม้มูลค่าจะไม่สูงมากนัก แต่เป็นการกระทำที่ไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย จึงต้องรีบสืบสวนติดตามจับกุมให้ได้โดยเร็ว
ต่อมาเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมได้สืบทราบว่านายธนวิชญ์ และ นางสาวมารินทร์ ได้หลบหนีไปอยู่กับแม่ของนายธนวิชญ์ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงได้นำกำลังไปเฝ้าจุดเพื่อจับกุม นายธนวิชญ์ และ นางสาวมารินทร์ ต่อมาเวลาประมาณ 19.00 น. พบรถต้องสงสัยที่คาดว่านายธนวิชญ์ และ นางสาวมารินทร์จะใช้ขับผ่านมา จึงได้เข้าปิดล้อมแสดงตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ และแสดงหมายจับให้นายธนวิชญ์ กับนางสาวมารินทร์ ทราบและแจ้งสิทธิ์ตามกฎหมาย
ในชั้นจับกุม จากการซักถามนายธนวิชญ์ และ นางสาวมารินทร์ให้การยอมรับแค่บางส่วน โดยบอกว่าเคยทำเองจริงเมื่อในอดีต แต่ปัจจุบันได้มีการขายบัญชีและเฟสบุ๊คของตนเองไปแล้ว และไม่ได้ทำเรื่องดังกล่าวอีก ปัจจุบันได้ประกอบอาชีพขายผลไม้ แต่เจ้าหน้าที่ไม่ได้ปักใจเชื่อแต่อย่างใด จะได้ทำการขยายผลต่อไป จากนั้นได้นำตัวนำตัว นางสาวมารินทร์ ส่งพนักงานสอบสวน สภ.บางใหญ่ และนำตัวนายธนวิชญ์ ส่งพนักงานสอบสวน สน.บางรัก เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ กล่าวว่าผู้ต้องหาทั้ง 2 ราย ถือเป็นภัยสังคม หลอกประชาชนเป็นจำนวนมาก ต้องรีบดำเนินการจับกุมให้เร็วที่สุด และขอฝากเตือนประชาชน ต้องใช้ความระมัดระวัง เพราะการทำธุรกรรมออนไลน์ หรือช็อปปิ้งออนไลน์ มักจะมีมิจฉาชีพแฝงตัวอยู่เสมอ วิธีป้องกัน ควรตรวจสอบที่มาที่ไปของเว็บไซต์, การตรวจสอบบัญชีต่างๆ ข้อมูลผู้ขายให้ถี่ถ้วน หรือแม้กระทั่งการรีวิว ห้ามหลงกลในโปรโมชันล่อใจ เช็กแพ็กเกจ เลือกซื้อของจาก Official store หรือแพลตฟอร์มที่ไว้ใจได้ มีการลงทะเบียนร้านค้าโดยใช้ข้อมูลจริง นำเลขที่บัญชีหรือชื่อของผู้ขายไปค้นหาบน Google เพื่อที่จะหาประวัติว่าเคยมีคนโพสต์เกี่ยวกับการฉ้อโกงในการซื้อของหรือไม่ เก็บหลักฐานการโอนเงินไว้เสมอ สุดท้ายหากตกเป็นเหยื่อ โทรหาศูนย์ AOC 1441 พร้อมช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง โทรทันที เมื่อได้รับความเดือดร้อนจากมิจฉาชีพออนไลน์
ผู้สื่อข่าวสยามนิวส์ จ.กรุงเทพมหานคร รายงาน