เกษตรกรผู้ปลูกข้าวตรวจสอบด่วน เตรียมเสนอ ครม. ออก 2 มาตรการชดเชย

เกษตรกรผู้ปลูกข้าวตรวจสอบด่วน เตรียมเสนอ ครม. ออก 2 มาตรการชดเชย

ไร่ละ 1000 ล่าสุด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เตรียมเสนอ ครม. ออกมาตรการชดเชย 2 สินเชื่อช่วยเหลือชาวนา ตรวจสอบรายละเอียด เกษตรกรผู้ปลูกข้าวตรวจสอบด่วน ไร่ละ 1000 ล่าสุด ความหวังที่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวจะได้รับเงินทดแทน ไร่ละ 1000 ปี 67 68 ล่าสุด ในโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูก ข้าว ปีการผลิต 2567/2568 หรือ โครงการไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือไม่เกินครัวเรือนละ 20,000 บาท เริ่มริบหรี่เสียแล้วเมื่อ นายเอกภาพ พลซื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฝ่ายการเมือง) ในขณะนี้ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากรัฐบาล มีนโยบายหลีกเลี่ยงการดำเนินการในลักษณะการให้เงินอุดหนุนช่วยเหลือ ชดเชย หรือ ประกันราคาสินค้าเกษตร

อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ออกมาตรการชดเชยไร่ละ 1000 ล่าสุด โดยร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. เตรียมจัดทำ มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2567/68 จำนวน 2 โครงการ วงเงินรวมทั้งสิ้น 59,500.01 ล้านบาท จำแนกเป็น วงเงินสินเชื่อ 50,481.00 ล้านบาท วงเงินจ่ายขาด 9,019.01 ล้านบาท ดังนี้ และเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีโดยเร็วที่สุด ดังนี้

โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2567/68 เป้าหมาย 3 ล้านตัน วงเงินงบประมาณรวม 43,843.76 ล้านบาท วงเงินสินเชื่อ 35,481.00 ล้านบาท วงเงินจ่ายขาด 8,362.76 ล้านบาท โดย ธ.ก.ส. จ่ายสินเชื่อตามโครงการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกร และสถาบันเกษตรกร 3 ล้านตันข้าวเปลือก โดยกำหนดข้าวเปลือกที่เข้าร่วมโครงการฯ และวงเงินสินเชื่อต่อตัน ดังนี้ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,500 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 10,000 บาท ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวในอัตรา 1,500 บาทต่อตันข้าวเปลือก โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเองได้รับเต็มจำนวน สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกเข้าโครงการฯ ได้รับในอัตรา 1,000 บาทต่อตันข้าวเปลือก และเกษตรกรผู้ขายข้าวได้รับในอัตรา 500 บาทต่อตันข้าวเปลือก

โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2567/68 เป้าหมาย 1.5 ล้านตัน วงเงินงบประมาณรวม 15,656.25 ล้านบาท วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท และวงเงินจ่ายขาด 656.25 ล้านบาท โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกเพื่อจำหน่าย หรือเพื่อการแปรรูป โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกร ร้อยละ 3.50 ต่อปี

ข้อมูล thansettakij

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ