แม่บ้านตำรวจ เข้าร้องทุกข์ หลังถูกสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งหนึ่ง โกงเงินสะสมของสามีตำรวจที่เสียชีวิต แต่ไม่ได้รับเงิน

แม่บ้านตำรวจ เข้าร้องทุกข์ หลังถูกสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งหนึ่ง โกงเงินสะสมของสามีตำรวจที่เสียชีวิต แต่ไม่ได้รับเงิน

วันนี้ (17 พ.ย. 2567) ที่เพจสายไหมต้องรอด โดยกลุ่มผู้เสียหายที่เดินทางมาจากจังหวัดพัทลุง มาร้องขอความเป็นธรรมกับนายเอกภพ หลังจากที่ กลุ่มผู้เสียหายเป็นทายาทตำรวจในจังหวัดพัทลุงเข้าร้องเรียนหลังจากที่ สหกรณ์ตำรวจแห่งหนึ่งภายในจังหวัดพัทลุงไม่ยอมจ่ายเงินหลังจากที่ทายาท หลังจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เป็นผู้ฝากคุณเข้าไปในสหกรณ์เสียชีวิต

นายเอกภพ ระบุว่ากลุ่มผู้เสียหายเป็นครอบครัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจในจังหวัดพัทลุง ได้เข้าร่วมกับสหกรณ์ตำรวจแห่งหนึ่งในจังหวัดพัทลุง ส่งกองทุนนี้มาหลาย 10 ปี ซึ่งหลังจากไม่ว่าจะเป็นพ่อ หรือสามีที่เสียชีวิตไป ทายาทก็จะไปทำเรื่องขอเบิกเงิน (หุ้น) ก็ไม่สามารถที่จะเบิกถอนออกมาได้ โดยที่ทาง สหกรณ์ตำรวจแห่งนี้อ้างว่า มีเหตุที่เกิดขึ้นกับทางสหกรณ์ซึ่งเป็นปัญหาภายในที่เกิดขึ้น ซึ่งญาติอีกหลายคนที่เดือดร้อนไม่สามารถที่จะเบิกเงินคืนได้ ซึ่งคนที่มาวันนี้เป็นตัวแทนของกลุ่มทายาทบางคนเป็นภรรยาแทนที่จะได้เงินของสามีมาใช้ก็กลับไม่ได้ใช้บางคนเป็นลูก ก็ไม่ได้ใช้เงินของผู้เป็นพ่อ ที่จะเอามาใช้สำหรับการศึกษา

นอกจากนี้ทางสหกรณ์ตำรวจมีการออกกฎระเบียบมาเมื่อเดือนมกราคม ปี 2567 ให้มีกฎระเบียบย้อนหลังก็จะต้องไปดูว่ามีผลบังคับใช้ไหมก็อยากจะให้ทางสหกรณ์มาดูแลพวกทางทายาทเยียวยาทางทายาทซึ่งมากน้อยก็ยังดีเพราะครอบครัวก็ยังลำบากเพราะตำรวจที่เสียชีวิตไปก็ปฏิบัติหน้าที่อย่างสุจริตซึ่งทางคนที่เข้าร่วมกองทุนก็หวังว่าทายาทจะไม่ลำบากจึงได้มีการฝากกองทุนไว้

ซื้อตอนนี้มูลค่าความเสียหายหลายสิบล้านบาท จึงอยากจะเดินทางมาร้องขอความเป็นธรรมรวมถึงให้ เพจสายไหมต้องรอดช่วยเป็นกระบอกเสียง และจะให้ทนายของทางเพจสายไหมต้องรอดมาช่วยดูแล และจะมีการประสานไปยังอธิบดีอัยการคุ้มครองสิทธิ์ เพื่อที่จะช่วยดูแลเรื่องโดนสิงจะให้ทางทนายของเค้าไหนก็รอบมาช่วยดูแลสิ่งเหล่านี้มีความแปลกเรื่องเกิดมาหลายปีแล้ว

ทางทายาทก็พยายามที่ติดตามไปทางสหกรณ์ จนทางสหกรณ์ออกระเบียบ เมื่อเดือนมกราคม 2567 ไม่สามารถที่จะเอาเงินคืนได้ซึ่งก็จะต้องไปดูว่าระเบียบเช่นนี้มีผลบังคับใช้หรือไม่ซึ่งถ้าไม่มีผลบังคับใช้ก็อยากจะให้ทางสหกรณ์มาเยียวยาดูแลผู้เสียหาย เพราะตำรวจแต่ละนายที่เสียชีวิตไปทุกคนก็ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริตทั้งชีวิตก็ทำงานมาเพื่อเก็บเงินกับทางสหกรณ์ก็คาดหวังว่าพ่อเสียชีวิตทายาทที่เหลืออยู่ก็จะไม่ลำบากสุดท้ายก็มันหนักมาก

ต่อมา นางสุภาภรณ์ คงศรี อายุ 55 ปี ตัวแทนผู้เสียหาย และเป็นภรรยาของ ร.ต.ท. ประพันธ์ คงศรี ที่พึ่งเสียชีวิตไปเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2566 ซึ่งทางสามีได้ไปเข้าร่วมกองทุนสหกรณ์แห่งนี้โดยมีหุ้นเมื่อปี 2536 ซึ่งหลังจากที่สามีเสียชีวิตลงก็มีหุ้นอยู่ภายในสหกรณ์แห่งนี้ 400,000 กว่าบาท ส่งทางเธอและครอบครัวได้ไปติดต่อที่สหกรณ์แห่งนี้เพื่อที่จะทำการเบิกเงินที่เหลือออกมาแต่ทาง สหกรณ์ว่าไม่สามารถที่จะเบิกได้

จนกระทั่งวันที่ 15 ตุลาคม 2567 มีการนัดกลุ่มทายาทไปประชุมพร้อมบอกว่าทุกคนจะถูกตัดหุ้นทิ้งทั้งหมด ส่วนกรณีของเธอบอกว่าจะจ่ายเพียงแค่ 29,000 กว่าบาท (0.6 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งตนเองมองว่า ไม่ยุติธรรมกับตนเอง เพราะมีบางคนที่เสียชีวิตตั้งแต่ปี 2564 ถึง 2565 ก็ถูกตัดหุ้นทิ้งทั้งหมดเงินที่ออมมาทั้งชีวิตที่คิดจะเก็บไว้ให้ทางครอบครัวก็หายไปทั้งหมด ครอบครัวก็ได้รับความเดือดร้อน อย่างบางครอบครัวที่มีมูลค่าสูงถึงสองล้านบาทก็จะต้องถูกตัดทิ้งไป

นอกจากนี้ ตนและผู้เสียหายได้เข้าไปในเว็บไซต์ของทางสหกรณ์ และพบความผิดพลาด ในการทำเอกสารหลายจุด เช่นอายุของสามี ที่ทางเว็บไซต์ระบุว่าอายุของสามีเธอมีเพียงแค่อายุ 23 ปี รวมถึงมีการ ระบุวันที่ตนเองพ้นสภาพทางที่ตนเองไม่เคยไปเซ็นลาออกจากทางกองทุน รวมถึงทางสามีสมัครกองทุนนี้ตั้งแต่ปี 2536 ซึ่งจะต้องได้ทั้งหมด 360 งวดแต่ทางเว็บไซต์ระบุไว้เพียงแค่ 243 งวด

จึงอยากจะเรียกร้องไปยังทางสหกรณ์ว่าให้เข้ามาช่วยเหลือดูแลเยียวยาและอยากได้ตัดสิทธิ์ตัดหุ้นของพวกเราไปเลย เพราะเป็นเงินที่ทางสามีสะสมมา แต่ละคนก็ลำบากซึ่งตนเองก็มีหนี้อีก 50,000 กว่าบาทแทนที่จะเอาเงินในกองทุนมาหักลบกัน แต่ทางสหกรณ์ก็บอกว่าไม่สามารถที่จะหักล้างกันได้ ทางสหกรณ์บอกว่า หนี้ก็คืนหนี้ หุ้นก็คือหุ้น ซึ่งจากการไปสอบถามหลายที่ก็บอกว่าสามารถทำได้แต่ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมที่สหกรณ์แห่งนี้ถึงไม่สามารถที่จะทำได้

อย่างน้องนักศึกษาคนนึงที่พ่อพึ่งเสียชีวิตไปมีเงินในกองทุนประมาณ 500,000 กว่าบาทหากหักหนี้ไปแล้วยังเหลือเงินอีก 100,000 กว่าบาทมาให้น้องนักศึกษาคนนี้ไปใช้เป็นทุนการศึกษาต่อได้อีก ซึ่งตอนนี้มีผู้เสียหายประมาณ 58 คนความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 27,000,000 กว่าบาทซึ่งสมาชิกของกองทุนแห่งนี้มีสมาชิกทั้งหมด 700 กว่าคน

ซึ่งก่อนหน้านี้ตนก็ได้คุยกับทางรองประธาน ของสหกรณ์ก็ได้ทักไปว่าทำไมถึงไม่หักหุ้นของคนที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วยถ้าหากจะต้องการนำเงินไปชดเชยหนี้ที่ขาดทุนสะสมของสหกรณ์ ทางรองประธานคนดังกล่าวตอบกลับมาว่า เพราะคนที่มีชีวิตอยู่ยังไม่ผลสภาพ ยังเป็นสมาชิกอยู่ แต่คนที่เสียชีวิตไปแล้วนั้นคือคนที่พ้นสภาพสมาชิกไปแล้วซึ่งเธอก็มองว่าไม่เป็นธรรมกับเธอ ซึ่งส่วนตัวมองว่าปัญหาน่าจะเกิดตั้งแต่ปี 2564 ที่ทางสหกรณ์เคยมีข่าวดังว่ามีการทุจริตกันภายในองค์กรทำให้ทางหกรขาดทุน

พร้อมบอกว่าตั้งแต่ปี 2564 ทางครอบครัวไม่เคยได้รับเงินปันผลจนกระทั่งปี 2566 ได้เงินปันผลมา 6500 บาท ซึ่งทางประธานของสหกรณ์บอกว่าเงินตรงนี้จะต้องรอก่อนซึ่งจะได้คืนภายในอีก 10 ปี หรือถ้าหากทางสหกรณ์ฟื้นฟูตัวได้ก็จะมีเงินปันผลให้กับทางครอบครัวทุกปี แต่สุดท้ายวันที่ 15 ที่มีการประชุมก็มาบอกว่าจะตัดสิทธิ์ทุกคน และพึ่งมารู้ภายหลังว่าทายาทผู้เสียชีวิตจะต้องสมัครสมาชิกสมทบเพื่อรับเงินปันผลทุกปี

ซึ่งเธอเล่าทั้งน้ำตาว่าเงินนี้สามีของเธอเคยบอกว่า ถ้าพ่อตายไปลูกกับจะสบายที่ไหนได้ลูกกับเมียจะต้องมาต่อสู้อยู่แบบนี้แหละไม่ได้เงินสักบาทหนึ่งเลย แต่เมื่อสหกรณ์ทำเช่นนี้ก็จะต้องเข้าใจความทุกข์ของทายาทด้วยเช่นกัน ยอมรับว่าเคยไปปรึกษากับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจในจังหวัดพัทลุงซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจคนดังกล่าวก็บอกว่าจะมาแจ้งทำไม

รวมถึงรองประธานสหกรณ์บอกว่า จะต้องชำระหนี้ที่เหลืออีก 50,000 บาทโดยจะมีค่าดอกเบี้ยร้อยละ 8 บาทต่อวัน ซึ่งเธอมองว่าเป็นจำนวนที่มากเกินไปและตามกฏหมายดอกร้อยละ 20 ก็ถือว่าผิดกฎหมายแล้วจึงได้ตั้งคำถามว่า อย่างกรณีนี้ก็เข้าข่ายผิดกฎหมายด้วยหรือไม่

นักศึกษาที่พ่อเสียชีวิต ออกมาเปิดเผยว่าทางสหกรณ์บอกว่า จะต้องชำระหนี้ที่เหลือหากไม่ชำระจะมีการฟ้องดำเนินคดีซึ่งเธอเป็นเพียงแค่นักศึกษาก็ไม่รู้ว่าจะต้องนำเงินจากไหนไปคืน

ผู้สื่อข่าวนครบาล ทีมข่าวสยามนิวส์ รายงาน

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ