เปิดขั้นตอนและเอกสารที่ต้องเตรียม สำหรับคนถูกตัดสิทธิเงิน 10,000 บาท รอบแรก เป็นใครบ้าง

เปิดขั้นตอนและเอกสารที่ต้องเตรียม สำหรับคนถูกตัดสิทธิเงิน 10,000 บาท รอบแรก เป็นใครบ้าง

วิธีตรวจสอบสิทธิ เงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านแอปพลิเคชันทางรัฐ

1 เปิดแอปฯ ทางรัฐ เข้าสู่ระบบให้เรียบร้อย จากนั้นกดปุ่มตรวจสอบสถานะ

2 ระบบจะขออนุญาตเข้าถึงข้อมูล และขอยืนยันเบอร์โทรศัพท์มือถือ เพื่อใช้ในการยืนยันตัวตน ให้ท่านกดปุ่มยืนยันข้อมูล

3 กรอกเบอร์โทรศัพท์และกดปุ่มรับรหัสทาง SMS (OTP)

4 กรอกรหัส OTP และกดปุ่มยืนยันโทรศัพท์มือถือ

5 จากนั้นกดปุ่มอนุญาต ให้แอปพลิเคชั่นเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล

6 ระบบจะแสดงผลว่า สถานะในการรับสิทธิตามโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเลต

สถานะอยู่ในขั้นตอนที่ 3 คือระบบอยู่ระหว่างการตรวจสอบสิทธิ

สถานะอยู่ในขั้นตอนที่ 4 คือท่านไม่ได้รับสิทธิ

สถานะอยู่ในขั้นตอนที่ 5 คือท่านได้รับสิทธิตามโครงการเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเลต

ใครถูกตัดสิทธิเงิน 10,000 บาท รอบแรก

กลุ่มคนที่ถูกตัดสิทธิเงิน 10,000 บาท รอบแรก ได้แก่ คนพิการที่บัตรประจำตัวคนพิการหมดอายุ และคนพิการที่ไม่มีบัตรประจำตัวคนพิการ

นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ อย่าลืมต่ออายุบัตรประจำตัวคนพิการ และตรวจสอบบัญชีธนาคารเพื่อรับเบี้ยความพิการ เพื่อไม่ให้พลาดรับเงินจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และคนพิการ

สำหรับผู้พิการที่ไม่มีบัตรประจำตัวคนพิการ หรือ บัตรประจำตัวคนพิการหมดอายุ สามารถขึ้นทะเบียนทำบัตร หรือ ต่ออายุบัตรผู้พิการให้เรียบร้อยก่อนภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2567 เพื่อขอรับบัตรสิทธิตามโครงการเงินดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาท

ขั้นตอนการขอบัตรประจำตัวคนพิการ

1 คนพิการเข้ารับการตรวจ เพื่อขอรับเอกสารรับรองความพิการ ณ โรงพยาบาลของรัฐ

2 ตรวจสอบเอกสาร-ข้อเท็จจริง

3 บันทึกข้อมูล

4 ยื่นบัตรขึ้นทะเบียน

5 รอรับสิทธิเบี้ยความพิการ

เอกสารที่ใช้ในการขอบัตรประจำตัวคนพิการ (อย่างละ 1 ฉบับ)

1 เอกสารรับรองความพิการ จากโรงพยาบาลของรัฐ

2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาสูติบัตร (คนพิการ)

3 สำเนาทะเบียนบ้าน (คนพิการ)

4 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/สำเนาทะเบียนบ้าน (ผู้ดูแล)

5 รูปถ่ายคนพิการ 1 นิ้ว (กรณีคนพิการไม่สามารถมาด้วยตนเอง) กรณีผู้ที่จะเป็นผู้ดูแลคนพิการ ไม่ใช่ญาติร่วมสายโลหิต หรือทะเบียนบ้านไม่ได้อยู่ร่วมกับคนพิการ ให้ข้า

ราชการ กำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน รับรองบุคคลนั้นว่า เป็นผู้ดูแลคนพิการ พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรข้าราชการ อย่างละ 1 ฉบับ

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ