พายุซูลิกก่อก้อนเมฆระเบิดฝนกระหน่ำเมืองพะเยา ชาวบ้าน วัวควายหนี ผู้ว่าฯประชุมด่วน

พายุซูลิกก่อก้อนเมฆระเบิดฝนกระหน่ำเมืองพะเยา ชาวบ้าน วัวควายหนี ผู้ว่าฯประชุมด่วน

ช่วงเย็นของวันที่ 23 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา สภาพอากาศในพื้นที่จังหวัดพะเยายังคงเกิดฝนตกหนักตลอดทั้งวันทั้งคืนจากพายุซูลิค ซึ่งได้ก่อตัวเป็นก้อนเมฆดำมะมึน ระเบิดฝนลงกระหน่ำในเขตตัวเมืองพะเยา ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมไร่นา เรือกสวน ถนนบ้านเรือน และสัตว์เลี้ยงวัว ควาย  กันวุ่นหลายตำบล ที่ถูกน้ำป่าและน้ำในตกทั้งวัน จนเกิดน้ำไหลหลากท่วมไปเมือง และต่างอำเภอ  ทำให้น้ำป่า ไหลหลาก และไหลลงสู่ตามลำน้ำต่างๆ เพิ่มปริมาณสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และได้ไหลเข้าท่วมอาคารบ้านเรือนที่อยู่ติดลำน้ำ

ซึ่งในตอนเย็นวันนี้ได้มีชาวบ้าน ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม มี ตำบลต๊ำ ตำบลต๋อม ตำบลท่าวังทอง ตำบลแม่ใส  ต.ท่าจำปี  ตำบลแม่กา และ อ.เมืองพะเยา และบ้านฝั่งหมิ่น ต.ดอกคำใต้ อ.ดอกคำใต้และชุมชนบ้านแม่ต๋ำเมืองชุม ต.แม่ต๋ำอ.เมืองพะเยาซึ่งเป็นหมู่บ้านอยู่ท้ายประตูระบายน้ำ ถูกน้ำจากกว๊านพะเยา ที่ระบายออกประตูระบายน้ำลงสู่ลำน้ำอิง ได้ไหลล้นตลิ่งเข้าน้ำท่วมบ้านเรือน วัด ถนนอย่างหนัก จนชาวบ้านต้องรีบขนย้ายข้าวของหนีน้ำท่วมขึ้นไว้ที่สูงกันวุ่น

หลังจากเหตุการณ์น้ำป่าไหลหลาก ท่วมไปทั่วจังหวัด เวลา 15.00 น. นายรัฐพล นราดิศร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ได้ประชุมคณะกรรมการศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม จังหวัดพะเยา ครั้งที่ 16/2567 ณ ห้องประชุมศูนย์บัญชาการจังหวัดพะเยา ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดพะเยา เพื่อสรุปสถานการณ์ อุทกภัย น้ำท่วมขัง ณ ปัจจุบัน พร้อมติดตามสถานการณ์ การให้ความช่วยเหลือ และแนวทางการแก้ไขปัญหาของส่วนราชการ อำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อม เฝ้าระวัง พร้อมทั้งบรรเทาและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับราษฎรที่ได้รับผลกระทบ

ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา มีข้อเน้นย้ำ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ จากสถานการณ์อุทกภัย พร้อมทั้งบรรเทาและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับราษฎรที่ได้รับผลกระทบ จึงขอให้อำเภอ ทุกอำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้

1. ให้ทุกอำเภอ จัดเวรยามเฝ้าระวังบริเวณลำน้ำ คอสะพาน กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำออกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำ

2. ให้ทุกอำเภอ ประชาสัมพันธ์ประชาชนให้ติดตามสภาพอากาศรวมถึงการแจ้งเตือนให้ประชาชนที่อาศัยบริเวณที่ลาดเชิงเขาได้รับทราบเรื่องดินถล่ม ในขณะหรือภายหลังเกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง

3. ให้โครงการชลประทานพะเยาเฝ้าดูระดับน้ำกว๊านพะเยาอย่างใกล้ชิด รวมไปถึงปริมาณน้ำที่เติมลงกว๊านพะเยา และปริมาณน้ำที่ปล่อยลงสู่น้ำอิง ให้บริหารจัดการน้ำอย่างเหมาะสม โดยให้มีผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำอิงให้น้อยที่สุด

4. ให้ส่วนราชการทุกภาคส่วน ได้ตรวจตราดูแลสถานที่สำคัญ เตรียมการป้องกันไม่ให้ได้รับผลกระทบจากน้ำไหลหลากโดยเฉพาะเส้นทางสัญจร วัด โบราณสถาน เป็นต้น

ทีมข่าวสยามนิวส์ จังหวัดพะเยา รายงาน

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ