บุกร้อง บช.ก. สอบ เรืองไกร ปมร้องเรียน นายกฯอิ๊งค์ อาจเข้าข่ายแจ้งความเท็จ

บุกร้อง บช.ก. สอบ เรืองไกร ปมร้องเรียน นายกฯอิ๊งค์ อาจเข้าข่ายแจ้งความเท็จ

วันที่ 20 ก.ย. 2567 ผู้สื่อข่าวสยามนิวส์ ที่ศูนย์รับแจ้งความกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ถนนพหลโยธิน จตุจักร กทม. นายเดชา บัวปลี ทนายความ นำข้อกฎหมายและภาพข่าววันที่ 28 สิงหาคมและ 4 สิงหาคม เข้าร้องเรียนที่ศูนย์รับแจ้งความกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เพื่อให้ตรวจสอบการร้องเรียนของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ หลังเจ้าตัวได้ส่งหนังสือเพื่อขอให้ตรวจสอบนางสาวแพรทองพรพรรณชินวัตรนายกรัฐมนตรีว่ามีการลาออกจากกรรมการบริษัทต่างๆจำนวน 21 บริษัทเมื่อวันที่ 15 สิงหาคมจริงหรือไม่ และเหตุใดจึงจดทะเบียนกรรมการออกในวันที่ 19 สิงหาคมปีเดียวกันหลังจากได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ซึ่งความผิดดังกล่าวจะเข้าข่ายเป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และยังยื่นคำร้องเพิ่มเติมต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งเรื่องดังกล่าวตนมองว่าอาจเป็นความผิดในข้อหาแจ้งความเท็จและนำข้อความอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์

เนื่องจากตนเองได้ตรวจสอบข้อกฎหมายและพบว่าตามพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี หากนายกรัฐมนตรีได้รับการโปรดเกล้าจะมีเวลาให้โอนหุ้นส่วนหรือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นให้นิติบุคคลภายใน 90 วันนับจากได้รับแจ้งให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือปปชรับทราบ แล้วยังมีกรอบเวลาอีก 10 วัน ซึ่งตามข้อกฎหมายนี้นายกรัฐมนตรีมีสิทธิ์แจ้งประธานอปทใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งวันสุดท้ายที่มีสิทธิ์ทำหนังสือแจ้งคือวันที่ 17 กันยายนและวันสุดท้ายที่นายกรัฐมนตรีมีสิทธิ์โอนหุ้นส่วนหรือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นให้นิติบุคคลภายใน 90 วันซึ่งหากดูระยะเวลา 90 วันนับตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2567 จะพบในวันที่ 18 ธันวาคม 2567 ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีสิทธิ์ที่จะกระทำได้ภายในกรอบเวลาของกฎหมาย คนจึงบอกว่าการกระทำดังกล่าวของนายเรืองไกรอาจเป็นการกระทำความผิดตามข้อกฎหมายข้างต้นจึงขอให้ตำรวจสอบสวนกลางทำหนังสือถึงกกตขอข้อมูลการร้องเรียนของนายเรืองไกรวันที่ 28 สิงหาคมและ 4 กันยายนมาตรวจสอบว่ามีการกระทำความผิดหรือไม่

ทั้งนี้นายเดชา ยืนยันว่าตนเองไม่ได้มีเบื้องหลังหรือรับงานใดๆมาจากกลุ่มการเมืองแต่เป็นการร้องด้วยความเห็นและข้อมูลความรู้ด้านข้อกฎหมายของตนเองเนื่องจากไม่ต้องการให้มีการร้องเรียนจนทำให้เกิดผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดินจนเกิดผลกระทบในด้านต่างๆ

ส่วนการที่นายเรืองใครจะร้องเรียนก็เป็นศิษย์ที่สามารถกระทำได้ แต่ควรตรวจสอบข้อกฎหมายที่ชัดเจนซึ่งนายกรัฐมนตรีอาจจะทำผิดหรือไม่ได้กระทำผิดก็ได้ ส่วนการกระทำของนายเรืองไกรจะเป็นการร้องเรียนกลั่นแกล้งหรือไม่นั้นตนเองขอไม่ให้ความเห็นแต่ต้องการให้ตำรวจตรวจสอบการร้องเรียนดังกล่าว

ผู้สื่อข่าวนครบาล ทีมข่าวสยามนิวส์ รายงาน

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ