ด่วน! จำคุก 2,000 ปี อดีตนายอำเภอท่าสองยาง กับพวก ทุจริตงบภัยพิบัติ
วันที่ 17 ก.ย. 2567 ที่ห้องพระพุทธชินราช ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก นายศรชัย ชูวิเชียร ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภาค 6 ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 6 พร้อมด้วยผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด จำนวน 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก นครสวรรค์พิจิตร เพชรบูรณ์ ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร และจังหวัดอุทัยธานี แถลงข่าวผลการดำเนินงานของสำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 6 และสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด โดยมีข่าวที่น่าสนใจดังนี้
เรื่องที่ 1 กรณีกล่าวหา นายสมชาย ไตรทิพย์ชาติสกุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก กับพวก ทุจริตในการดำเนินการโครงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก เมื่อปี 2554 ซึ่งมีการดำเนินโครงการจำนวน 423 โครงการ ทั้งนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2554 ได้เกิดอุทกภัยจากพายุโซนร้อน “นกเตน” ทำให้น้ำท่วมขังที่อำเภอท่าสองยาง ซึ่งได้มีการประกาศให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน และมีการจัดซื้อจัดจ้างโครงการต่าง ๆเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ แต่ในการดำเนินการ นายสมชาย ไตรทิพย์ชาติสกุล ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 กับพวก ได้ร่วมกันจัดหาผู้รับจ้าง โดยนายสมชาย ฯ ได้สั่งการให้ผู้ปกครองท้องที่ในเขตพื้นที่ทำการจดทะเบียนจัดตั้งร้านค้าและนำมาเป็นคู่สัญญาในโครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่อำเภอท่าสองยาง
และในการดำเนินการของคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ไม่ได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบ เช่น บางโครงการไม่มีการควบคุมงาน บางโครงการไม่มีการตรวจการจ้าง อีกทั้งยังมีการเบิกจ่ายเงินโดยไม่ถูกต้อง ทั้งมีการเบิกจ่ายเงินไม่เต็มตามจำนวนที่รับจ้าง เบิกจ่ายเงินให้กับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้รับจ้าง และเบิกจ่ายเงินโดยไม่มีการก่อสร้างจริง โดยนายสมชาย ไตรทิพย์ชาติสกุล ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 กับพวก มีการกระทำในลักษณะเดียวกันถึง 3 ครั้ง ตามงบประมาณที่ ได้รับการจัดสรร รวมกว่า 73 ล้านบาท (ครั้งที่ 1 7,999,600 บาท, ครั้งที่ 2 7,999,600 บาท และครั้งที่ 3 ครั้งที่ 1 57,642,600 บาท) จำนวนโครงการรวม 423 โครงการ และในช่วงเวลาเกิดเหตุตรวจพบความเคลื่อนไหวทางการเงินหรือธุรกรรมทางการเงิน ของนายสมชาย ไตรทิพย์ชาติสกุล ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง รวมเป็นเงินกว่า 26 ล้านบาท (26,595,780 บาท)
คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วมีมติ 1) การกระทำของนายสมชาย ไตรทิพย์ชาติสกุล ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และนางกมลทิพย์ ต๊ะอ่อน ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 มาตรา 151 และมาตรา 157และพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 12 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 103 ประกอบมาตรา 122 และมาตรา 123/1 (ปัจจุบันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 128 ประกอบมาตรา 169 มาตรา ๑๗๒) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 และมาตรา 91 แต่ความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 103 ประกอบมาตรา 122 (ปัจจุบันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 128 ประกอบมาตรา 169 ได้ขาดอายุความแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (6) ให้ยุติการดำเนินคดีตามฐานความผิดดังกล่าว และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 มาตรา 85 (1) มาตรา 82 (2) และมาตรา 83 (3) ประกอบมาตรา 85 (7) (2) การกระทำของนายประทีป โพธิ์เที้ยม ผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 และนายเกรียงศักดิ์ หรือภูดิศ ประโลม ผู้ถูกกล่าวหาที่ 7 มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 มาตรา 151มาตรา 157๑๕๗ มาตรา 162 (1)(4) พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 12 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 123/1
(ปัจจุบันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 172 ) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 มาตรา 91 แต่ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162 (1) และ (4) ได้ขาดอายุความแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (6) ให้ยุติการดำเนินคดีตามฐานความผิดดังกล่าว และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551มาตรา 85 (1) มาตรา 82(2) และมาตรา 83 (3) ประกอบมาตรา 85(7)
(3) การกระทำของนายฉลองชัย อร่ามรุ่งโรจน์ ผู้ถูกกล่าวหาที่ ๔ 4 นายขุนทอง จอมประเสริฐ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 5 และนายกฤตธัช นนทวฤทธิ์ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 6 มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 162 (1) และ (4) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 123/1(ปัจจุบันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 172 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 และมาตรา 91 แต่ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162 (1) (4) ได้ขาดอายุความแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (6) ให้ยุติการดำเนินคดีตามฐานความผิดดังกล่าว และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551มาตรา 85 (1) มาตรา 82 (2) และมาตรา 83 (3) ประกอบมาตรา 85 (7)
(4) การกระทำของนายเกรียงไกร ประไพศรี ผู้ถูกกล่าวหาที่ 8 มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 มาตรา 157 และมาตรา 162 (1) และ (4) พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 12 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 123/1 (ปัจจุบันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา ๑๗๒) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 และมาตรา 91 แต่ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162 (1) และ (4) ได้ขาดอายุความแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (6) ให้ยุติการดำเนินคดีตามฐานความผิดดังกล่าว และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 มาตรา 85 (1) มาตรา 82 (2) และมาตรา 83 (3) ประกอบมาตรา 85 (7) (5) การกระทำของนางสาวศิริลดา ธินา ผู้ถูกกล่าวหาที่ 9 มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 มาตรา 157 และมาตรา 162 (1) และ (4) ประกอบมาตรา 86 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 12 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542
และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 123/1 (ปัจจุบันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตพ.ศ.2561 มาตรา ๑๗๒) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๐ และมาตรา ๙๑ แต่ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 มาตรา 162 (1) (4) ประกอบมาตรา 86 ได้ขาดอายุความแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (6) ให้ยุติการดำเนินคดีตามฐานความผิดดังกล่าว และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 มาตรา 85 (1) มาตรา 82 (2) และมาตรา 83 (3) ประกอบมาตรา 85 (7)
(6) การกระทำของนายนพรัตน์ สมอนาค ผู้ถูกกล่าวหาที่ 10 มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 162 (1) และ (4) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 123/1 (ปัจจุบันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา ๑๗๒) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๐ และมาตรา ๙๑ สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162 (1) และ (4) ได้ขาดอายุความแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (6) ให้ยุติการดำเนินคดีตามฐานความผิดดังกล่าว และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ตามประกาศคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดตาก เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2544 ข้อ 3 วรรคสอง วรรคสาม และข้อ 6 วรรคสอง
(7) การกระทำของนางทองสี ศรีบัว ผู้ถูกกล่าวหาที่ 11 มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 มาตรา 157 และมาตรา 162 (1) และ (4) ประกอบมาตรา 86 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 123/1 (ปัจจุบันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 172) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 มาตรา 90 และมาตรา 91แต่ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 162 (1) และ (4) ประกอบมาตรา 86 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 123/1 (ปัจจุบันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 172 ) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 ได้ขาดอายุความแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (6) ให้ยุติการดำเนินคดีตามฐานความผิดดังกล่าว
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2567 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 6 มีคำพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 6 มีความผิดตามประมวลกฎหมายมาตรา 149 (เดิม), 151 (เดิม) พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา172 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 จำเลยที่ 7 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 (เดิม) พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561มาตรา 172 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 จำเลยที่ 8 มีความผิดความตามประมาลกฎหมายอาญา มาตรา 151 (เดิม) ประกอบมาตรา 86 พระราชบัญญ้ติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 12 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 จำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 9 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 (เดิม) และพระราชบัญญัติประกองรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปรามปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา จำเลยที่ 10 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 (เดิม) ประกอบมาตรา 86 และพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 การกระทำของจำเลยทั้งสิบเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญ่า มาตรา 91 จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3