หนุ่มหน้าซีดเงิน 6.6 แสน ในธนาคารหายเกลี้ยง สุดท้ายรู้ความจริง โกรธจนตัวสั่น ทำไมทำกับผมแบบนี้ (ตปท.)

หนุ่มหน้าซีดเงิน 6.6 แสน ในธนาคารหายเกลี้ยง สุดท้ายรู้ความจริง โกรธจนตัวสั่น ทำไมทำกับผมแบบนี้ (ตปท.)

ตามรายงานพบว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นในประเทศจีน นับตั้งแต่ตอนที่ นายหว่อง (นามสมมุติ) เกือบจะบรรลุนิติภาวะแล้วเนื่องจากเขาไม่ต้องการเพิ่มความกดดันทางการเงินของพ่อแม่ จึงเริ่มวางแผนและทำงานหนักทุกวัน เพื่อเก็บเงินสำหรับงานแต่งงานในอนาคต หลังจากอดทนทุ่มเทมาหลายปี ในที่สุดเขาก็เก็บเงินได้ 140,000 หยวน (มากกว่า 6.6 แสนบาท)

เขาตัดสินใจนำเข้าฝากธนาคาร เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับเงินจำนวนนี้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มเม็ดเงินจากดอกเบี้ยเงินฝาก แต่เนื่องจากจำนวนเงินค่อนข้างมากเขา ดังนั้นจึงแบ่งการฝากเงินเพื่อกินดอกเบี้ยออกเป็น 4 งวด คือ 20,000 หยวน , 20,000 หยวน , 50,000 หยวน และ 50,000 หยวน

ต่อมาไม่นานเขาก็ได้พบกับคู่ชีวิต หลังจากออกเดทได้สักระยะหนึ่งทั้งสองก็ตกลงที่จะแต่งงานกัน นายหว่องจึงตัดสินใจจะถอนเงินก้อนแรก 20,000 หยวน เพื่อเตรียมงานแต่งงานของตนเอง อย่างไรก็ตาม พนักงานธนาคารกลับแจ้งว่าไม่มีเงินเหลือในบัญชีเลยแม้แต่หยวนเดียว

นายหว่องแทบไม่เชื่อสิ่งที่ได้ยินกับหู เงินจำนวน 140,000 หยวน จะหายไปอย่างไร้เหตุผลเช่นนั้นได้อย่างไร จึงรีบขอให้พนักงานทำการตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ยอดคงเหลือในบัญชีของเขายังคงเพียงศูนย์ โดยพนักงานยืนยันว่าไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ ในระบบ

แน่นอนว่าเขาไม่สามารถยอมรับเรื่องที่เงินก้อนโตบินหนีไปได้ เริ่มขึ้นเสียงแล้วหยิบโทรศัพท์ออกมาบันทึกคลิปวิดีโอไว้เป็นหลักฐาน ทำให้เกิดความวุ่นวายที่ธนาคาร ท้ายที่สุดผู้อำนวยการธนาคารจึงเชิญเขาเข้าไปที่สำนักงาน เพื่อช่วยเขาชี้แจงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

ปรากฎว่าเมื่อตอนที่จะฝากเงินเข้าบัญชีธนาคารในครั้งแรก มีขั้นตอนบางอย่างที่ต้องทำผ่านทางโทรศัพท์มือถือ พนักงานธนาคารคนหนึ่งที่นั่งอยู่ข้างๆ ได้เสนอที่จะช่วยเหลือจนกระทั่งเสร็จสิ้น และเนื่องจากเขาเชื่อใจจึงไม่ได้ตรวจสอบยอดเงินในบัญชี

ผู้อำนวยการธนาคารกล่าวว่า แท้จริงเงินของนายหว่องไม่ได้หายไป แต่พนักงานคนนั้นได้นำไปเปิดเป็นบัญชีลงทุนซื้อหุ้นภายใต้โค้ดแนะนำจากพนักงาน เพื่อรับค่าคอมมิชชั่น แน่นอนว่าเมื่อทราบข่าวนี้ เขาก็รับไม่ได้และหวังว่าธนาคารจะช่วยให้เขาได้เงินคืน

อย่างไรก็ตาม ทางธนาคารอธิบายว่า เนื่องจากกรณีเซ็นสัญญาซื้อหุ้นแล้วอยากได้เงินคืนนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ตามปกติจำเป็นต้องจ่ายเงินจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นค่าผิดสัญญา เมื่อไม่มีทางเลือกอื่นนานหว่องจึงขอให้ตำรวจเข้ามาแทรกแซง

ตามกฎหมายแล้ว ประการแรก การกระทำของพนักงานธนาคารที่นำเงินไปซื้อหุ้น ถือเป็นการละเมิด สิทธิ์ในการรู้ ของนายหว่อง, ประการต่อมา เมื่อนายหว่องฝากเงินเข้าบัญชีธนาคาร จุดประสงค์ของเขาคือเพื่อเก็บเงิน ดังนั้นการ ซื้อหุ้น จึงไม่ใช่ความตั้งใจของเขา

ท้ายที่สุด ตามมาตรา 143 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งของจีน การละเมิดกฎหมายแพ่งเกิดขึ้นเมื่อผู้ฝ่าฝืนจงใจกระทำการละเมิด ดังนั้นนายหว่องจึง ไม่ต้องรับผิดชอบ ในการชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญา และยังสามารถรับเงินคืนได้ทั้งหมด

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ