เตือนแล้วนะ! แก้ว 4 ชนิด ที่ไม่ควรใช้ในบ้าน เอามาใส่เครื่องดื่มเหมือนวางยาตัวเอง

เตือนแล้วนะ! แก้ว 4 ชนิด ที่ไม่ควรใช้ในบ้าน เอามาใส่เครื่องดื่มเหมือนวางยาตัวเอง

บางครั้งเรามักให้ความสำคัญกับประเภทน้ำที่ดื่มหรือปริมาณที่ดื่ม แต่ลืมไปว่าอุปกรณ์ที่ใช้ใส่น้ำก็สำคัญไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มประเภทไหน ถ้าใส่ในแก้วที่ทำจากวัสดุที่ไม่ดีและส่งผลร้ายต่อผู้ดื่ม ทุกครั้งที่ดื่มก็เท่ากับการ วางยาตัวเอง เพราะฉะนั้น อย่าประหยัดอย่างผิดวิธี ขาดความเข้าใจ หรือถูกหลอกโดยรูปลักษณ์ที่สวยงาม จนยอมแลกสุขภาพและชีวิตของคุณ เมื่อใช้แก้ว 4 ประเภทต่อไปนี้

1. แก้วเซรามิกเทียม หรือ เมลามีน

จานชามหรือแก้วชนิดนี้ได้รับความนิยมในสมัยใหม่ เนื่องจากมีราคาถูกกว่าเซรามิกแท้ แต่มีน้ำหนักเบาและสวยงามกว่า แต่การใช้แก้วชนิดนี้ดื่มน้ำทุกวันก็เหมือนกับการ วางยาตัวเอง ในระยะยาว เพราะแก้วเหล่านี้มักทำจากพลาสติกเมลามีนมีคุณสมบัติทนความร้อนต่ำ นอกจากจะไม่สามารถใส่เครื่องดื่มร้อนได้ดีแล้ว ยังสามารถปล่อยสารพิษ เช่น เมลามีนและฟอร์มาลดีไฮด์ออกมาได้ ซึ่งถ้าร่างกายได้รับสารเหล่านี้เป็นเวลานาน อาจนำไปสู่การเกิดพิษ โรคตับ โรคไต หรือแม้กระทั่งมะเร็งได้

2. แก้วกระดาษใช้ครั้งเดียว

แก้วกระดาษชนิดนี้สะดวกสบาย และดูเหมือนจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คนจึงนิยมนำมาใช้ในสถานที่สาธารณะ แต่จริงๆ แล้วไม่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากงานวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีอินเดียพบว่า การใช้เครื่องดื่มร้อนในแก้วกระดาษจะเพิ่มความเสี่ยงในการกลืนกินอนุภาคพลาสติกเล็กๆ ไอออนที่เป็นอันตราย และโลหะหนัก ซึ่งสามารถนำไปสู่ข้อบกพร่องในการสืบพันธุ์ มะเร็ง และแม้กระทั่งความผิดปกติทางระบบประสาทได้เลย

3. แก้วสแตนเลสราคาถูก

แม้ว่าแก้วสแตนเลสจะเก็บความร้อนได้ดี ไม่แตกง่าย และทำความสะอาดง่าย แต่ก็มีความเสี่ยงต่อสุขภาพด้วยเช่นกันนะ โดยเฉพาะแก้วสแตนเลสราคาถูกที่ไม่มีแบรนด์หรือได้รับมาตราฐานอย่างถูกต้อง เนื่องจากวัสดุเฉพาะทำให้แก้วสแตนเลสมีราคาสูง แก้วสแตนเลสราคาถูกมักถูกผสมด้วยสารอื่นๆ และโลหะหนักที่เป็นอันตราย ซึ่งสามารถละลายและถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เมื่อใส่เครื่องดื่มร้อน

4. แก้วเคลือบด้านใน

แก้วเคลือบเซรามิกเป็นแก้วโลหะที่มีการเคลือบเซรามิกไว้ข้างใน แม้จะสวยงามและมีราคาถูก แต่การดื่มน้ำจากแก้วที่เคลือบเซรามิกข้างในก็มีความเสี่ยง เนื่องจากเซรามิกที่ถูกเคลือบไว้อาจไม่ทนทานและสามารถปล่อยโลหะหนักออกมาได้เมื่อสัมผัสกับเครื่องดื่มที่มีกรด

ข้อมูล SOHA

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ