134 คณาจารย์ ออกแถลงการณ์ด่วน
วันที่ 19 ส.ค.67 134 คณาจารย์นิติศาสตร์และนักกฎหมาย ออกแถลงการณ์กรณีการยุบพรรคก้าวไกลและกรณีความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลง ใจความว่า
ภายหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกลและตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคในการมีส่วนร่วมทางการเมืองเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2567 (“คำวินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกล”) และวินิจฉัยให้นายเศรษฐา ทวีสิน พ้นจากการเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2567 (คำวินิจฉัยปลดนายกฯ) นั้น คณาจารย์และนักกฎหมายซึ่งมีรายชื่อท้ายแถลงการณ์นี้ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญทั้งสองคดี ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับใช้กฎหมายและการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานแห่งกฎหมายและมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดปัญหาอย่างร้ายแรงต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ดังจะกล่าวต่อไปนี้
ประการแรก ศาลรัฐธรรมนูญตีความขยายเขตอำนาจของตัวเองและตีความบทบัญญัติของกฎหมายให้มีขอบเขตการบังคับใช้ที่กว้างขวางจนไม่มีขอบเขตที่ชัดเจนเพื่อยุบพรรคและตัดสิทธินายกรัฐมนตรี ซึ่งขัดต่อหลักการพื้นฐานแห่งกฎหมายที่การใช้การตีความกฎหมายที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของบุคคลจะต้องตีความอย่างแคบและด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในคำวินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกล ทั้งที่มีแนวทางในการตีความการกระทำที่เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาชาธิปไตยอย่างชัดเจนและเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย แต่ศาลกลับตีความขยายความให้รวมถึง การเสนอนโยบายของพรรคการเมืองและการเสนอแก้ไขกฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ ในคำวินิจฉัยปลดนายกฯ ศาลตีความการกระทำที่ไม่ซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และการกระทำที่ฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง ให้รวมถึงการขาดความระมัดระวังในการเสนอชื่อบุคคลที่ศาลเชื่อว่าน่าจะมีปัญหาในเรื่องคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรี โดยศาลอ้างอิงความคิดเห็นของสาธารณชนเพื่อสนับสนุนความเชื่อดังกล่าว ทั้งที่ไม่เคยมีการพิสูจน์การขาดคุณสมบัติของบุคคลดังกล่าวภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด
ประการที่สอง คำวินิจฉัยทั้งสองคดีเป็นผลของการดำเนินการกระบวนพิจารณาที่ไม่สอดคล้องกับหลักการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม (due process) โดยศาลอ้างอำนาจตามกฎหมายในการกำหนดกระบวนพิจารณาตามที่เห็นสมควรเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่เพียงพอในการตัดสินคดี การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลจึงเกิดความไม่แน่นอนทั้งต่อการเตรียมการต่อสู้คดีของผู้ที่ถูกกล่าวหาและการติดตามความคืบหน้าของสาธารณชน ทั้ง ๆ ที่ตามหลักการพื้นฐานของกฎหมายนั้น กระบวนพิจารณาคดีที่จะนำไปสู่การจำกัดสิทธิผู้ถูกกล่าวหาจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาได้นำเสนอพยานหลักฐานเพื่อต่อสู้คดีอย่างเต็มที่และเป็นธรรม พยานหลักฐานบางส่วนที่ศาลรับในคดีล้มล้างการปกครองซึ่งมีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2567 และถูกอ้างอิงในคดียุบพรรคก้าวไกลในเวลาต่อมา เช่น พยานหลักฐานจากหน่วยงานความมั่นคง เป็นพยานหลักฐานที่ศาลรับฟังโดยไม่ได้เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ถามค้านหรือโต้แย้ง ภายใต้หลักการพื้นฐานแห่งกฎหมาย คำวินิจฉัยที่เป็นผลจากกระบวนพิจารณาคดีที่ไม่ชอบย่อมเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประการที่สาม การที่ศาลรัฐธรรมนูญตีความขยายเขตอำนาจของตนเองให้เข้าไปตรวจสอบการกระทำทางนิติบัญญัติและการกระทำทางรัฐบาล เกินไปกว่าที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจและไม่สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานของกฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นการทำลายหลักการแบ่งแยกอำนาจและเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อกลไกคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ส่งผลให้การปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติและการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหารเกิดความไม่แน่นอนและไม่เป็นอิสระ
ประการสุดท้าย คำวินิจฉัยทั้งสองคดีของศาลรัฐธรรมนูญลดทอนความเชื่อมั่นศรัทธาที่ประชาชนชาวไทยและต่างชาติมีต่อระบบกฎหมายและการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทยอย่างรุนแรง คำวินิจฉัยที่มีผลให้พรรคการเมืองที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุดต้องสิ้นสุดลงและมีผลให้นายกรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะการตีความกฎหมายและวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ไม่เป็นไปตามหลักการของกฎหมายย่อมทำลายความเชื่อมั่นของประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มีต่อระบบกฎหมายและระบบการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอย่างรุนแรง และก่อให้เกิดความรู้สึกหดหู่และสิ้นหวังจากการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการประหัตประหารทางการเมือง ทำลายคู่ต่อสู้ในทางการเมือง การที่ประชาชนทั่วไปสามารถทำนายผลคดีได้อย่างแม่นยำ และเห็นได้ว่าเป็นการตัดสินคดีที่เป็นเพียงเกมการเมือง ไม่ใช่การตัดสินคดีอันเป็นกระบวนการทางกฎหมาย ทัศนคติเช่นนี้เป็นสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่าสังคมและประชาชนขาดความเชื่อมั่นศรัทธาที่มีต่อระบบกฎหมายและระบบการเมืองอย่างรุนแรง ระบบกฎหมายที่อาศัยเฉพาะแต่อำนาจแต่ขาดซึ่งความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนย่อมไม่อาจดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและในท้ายที่สุดแล้วจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือข้อขัดแย้งทางสังคมและการเมืองใด ๆ ได้เลย
คณาจารย์นิติศาสตร์และนักกฎหมาย ขอยืนยันถึงความไม่เห็นด้วยต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการยุบพรรคก้าวไกล และการวินิจฉัยให้นายเศรษฐา ทวีสิน พ้นจากการเป็นนายกรัฐมนตรี และต้องการชี้ให้สังคมไทยได้เห็นว่าการใช้และตีความกฎหมายของศาลรัฐธรรมนูญผิดหลักการทางนิติวิธีที่ได้รับการยอมรับซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของวิชานิติศาสตร์ ดังได้แสดงเหตุผลไว้แล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้สังคมไทยได้ถกเถียงในประเด็นดังกล่าวบนพื้นฐานของเหตุและผลอย่างจริงจัง รวมถึงการถกเถียงในประเด็นเรื่องการปฏิรูปศาลรัฐธรรมนูญในอนาคตต่อไปด้วย ด้วยความเชื่อมันในนิติรัฐ ประชาธิปไตย และอำนาจสูงสุดของประชาชน
รายนามคณาจารย์นิติศาสตร์และนักกฎหมาย
1.กมลนัยน์ ชลประทิน สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
2.กรกนก วัฒนภูมิ
3.กรรภิรมย์ โกมลารชุน คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4.กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
5.กฤษฎา ใจแก้วทิ
6.กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
7.กิตติยา พรหมจันทร์
8.ขรรค์เพชร ชายทวีป
9.ขริสา สร้อยศรี กรมการปกครอง
10.เขมชาติ ตนบุญ
11.เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง
12.เขมภัทร ทฤษฎิคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
13.คงสัจจา สุวรรณเพ็ชร
14.จอมพล พิทักษ์สันตโยธิน
15.จันทร์จิรา จันทร์แผ้ว ทนายความ
16.ฉัตรฑริกา นภาธนาพงศ์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
17.เฉลิมศรี ประเสริฐศรี
18.ชนฐิวัทน์ อุดมศิริพัชร
19.ชาคริต สิทธิเวช คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
20.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล
21.ฐิติชญา พนัสนอก
22.ฐิตินันท์ เต็งอำนวย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
23.ณรงค์เดช สรุโฆษิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
24.ณัฏฐพงษ์ ลัทธาพลสกุล
25.ณัฏฐพร รอดเจริญ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
26.ณัฐดนัย นาจันทร์ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
27.ณัฐพล สุรรัตน์รังษี
28.ณัฐวัฒน์ กฤตยานวัช มหาวิทยาลัยบูรพา
29.ณัฐสุดา อมรสู่สวัสดิ์
30.ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
31.ดิศรณ์ ลิขิตวิทยาวุฒิ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
32.ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
33.ติณเมธ วงศ์ใหญ่ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
34.ทวีศักดิ์ เอื้ออมรวนิช คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
35.ทศพล ทรรศนพรรณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
36.ธนาชัย ธนาหิรัญบุตร
37.ธนินทร์ เพชรศิริ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
38.ธวัช ดำสอาด
39.ธาดา ชาติอุดม
40.ธีรยุทธ ปักษา
41.ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
42.นนท์ปวิธ แสงเทียนประไพ
43.นพดล เดชสมบูรณ์รัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
44.นฤมล ช้างบุญมี
45.นฤมล ฐานิสโร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
46.นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มาหวิทยาลัยเชียงใหม่
47.นันทกานต์ อมรสู่สวัสดิ์
48.นาฏนภัส เหล็กเพ็ชร
49.นายสิทธิพร จึงรุ่งฤทธิ์
50.นิฐิณี ทองแท้
51.นิติ จันจิระสกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
52.นิรันดร์ ลวดเงิน
53.นิสิต อินทมาโน
54.ปพนธีร์ ธีระพันธ์
55.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
56.ปลื้ม บางวัฒนกุล
57.ปารณ บุญช่วย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
58.ปิยอร เปลี่ยนผดุง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
59.พงศ์ธร จิตตาพินิจมาศ
60.พงษ์พันธ์ บุปเก
61.พอชนก คุณวุฒิฤธิรณ
62.พัชร์ นิยมศิลป คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
63.พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
64.พิไลวรรณ ศรีประเสริฐ
65.พุฒิพันธุ์ อภิไชยาวาทย์
66.พูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความ
67.เพชรณพัฒน์ ศรีวุทธิยประภา สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
68.ภัทรพงษ์ แสงไกร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
69.ภานุวัฒน์ ผ่องใส
70.ภาลฎา อ่ำทรัพย์
71.ภาสกร ญี่นาง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
72.ภิรมย์พร ไชยยนต์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
73.ภูเก็ต ช้างเสวก
74.ภูภัชร พัฒนธารธาดา
75.ภูริวัฒน์ ชัยสิริโรจน์
76.มณฑินี รูปสูง
77.มะปราง สมบัติไทย
78.มาติกา วินิจสร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
79.มาลี พฤกษ์พงศาวลี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
80.มุนินทร์ พงศาปาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
81.เมษปิติ พูลสวัสดิ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
82.เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
83.รัฐพล ปั้นทองพันธุ์ ทนายความ
84.รัดเกล้า นามกันยา ทนายความ
85.รัษฎา มนูรัษฎา สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
86.วรภัทร วีรพัฒนคุปต์ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(ครป.)
87.วรวิทย์ ศิริสุโขดม
88.วัชลาวลี คำบุญเรือง มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
89.วิชญา รัตนจรัสโรจน์
90.วิเชียร เพ่งพิศ
91.วิทูรย์ ตลุดกำ
92.วิพล กิติทัศนาสรชัย ข้าราชการอัยการ
93.วีระ สมความคิด เครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน (คปต.)
94.วีระยุทธ สิทธิโภชน์
95.ศรัณย์ จงรักษ์
96.ศรัณย์ พิมพ์งาม คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
97.ศราวุฒิ ประทุมราช
98.ศรีประภา เพชรมีศรี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
99.ศศิน สุขจรัส
100.ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ ทนายความ
101.ศศิภา พฤกษฎาจันทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
102.ศิริกาญจน์ เจริญศิริ
103.ศิริโสภา สันติทฤษฎีกร
104.ศุภกร ชมศิริ
105.ส.รัตนมณี พลกล้า
106.สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
107.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
108.สมชาย หอมลออ
109.สรรค์ ตันติจัตตานนท์ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
110.สัญญา เอียดจงดี
111.สันติชัย ชายเกตุ
112.สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
113.สิริลักษณ์ บุตรศรีทัศน์ นักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
114.สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
115.สุธารี วรรณศิริ
116.สุรชัย ตรงงาม ทนายความ
117.สุรพี โพธิสาราช
118.สุวิทย์ ปัญญาวงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
119.เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์ นักวิชาการอิสระ
120.อธิรัชต์ ส่านประสงค์ กองทุนประกันวินาศภัย
121.อธิวัฒน์ เส้งคุ่ย
122.อนันต์สิทธิ์ ลัทธพลสกุล
123.อรพรรณ พนัสพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
124.อัครชัย ชัยมณีการเกษ
125.อานนท์ ศรีบุญโรจน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
126.อานันท์ กระบวนศรี
127.อารยา สุขสม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
128.อำนาจ ตั้งคีรีพิมาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
129.อิษิรา ธนรัช
130.อุดม งามเมืองสกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
131.เอกรพี หาศรีวงศ์
132.เอกรินทร์ เท่งเจียว
133.เอื้อการย์ โสภาคดิษฐพงษ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
134.เอื้ออารีย์ อิ้งจะนิล คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย