ลงทะเบียนเกษตรกร 2567 เช็กเงื่อนไข รับสิทธิ ปุ๋ยคนละครึ่ง
ลงทะเบียนเกษตรกร 2567 กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร เพื่อรักษาสิทธิ์ รับโอกาส และการช่วยเหลือจากภาครัฐ ซึ่งโครงการปุ๋ยคนละครึ่งเป็นหนึ่งในโครงการของภาครัฐด้วย โดยกรมการข้าว ภายใต้สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เตรียมเสนอเข้าสู่ที่ประชุม ครม. เพื่อพิจารณาภายในเดือน มิ.ย. 67 หรือช้าสุดภายในเดือน ก.ค. 67
ช่องทาง ลงทะเบียนเกษตรกร และปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร
1. แจ้งกับเจ้าหน้าที่
1.1. ณ สถานที่รับขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ดังนี้
สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือจุดนัดหมายที่สำนักงานเกษตรอำเภอนั้นกำหนด
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ร่วมเป็นหน่วยสนับสนุน
ศูนย์บริการเกษตรพิรุณราช ณ สำนักงานเกษตรอำเภอ (ตามที่ตั้งแปลง)
1.2. ผ่านผู้นำชุมชนหรือตัวแทนอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.)
2. เกษตรกรดำเนินการด้วยตนเอง
2.1. ผ่าน e-Form ที่เว็บไซต์ https://efarmer.doae.go.th
2.2. ผ่านแอปพลิเคชั่น Farmbook (เกษตรกรรายเดิมแปลงเดิม) ระบบ Android และระบบ iOS
สิ่งที่เกษตรกร จะได้รับ
สิทธิการเข้าถึงบริการภาครัฐที่รวดเร็ว e-Service
1 ข้อมูลข่าวสาร และสารสนเทศด้านการเกษตร
2 ระบบการแจ้งเตือนรายบุคคล (Personalized Notifications) (อุณหภูมิ, อากาศ, ความชื้น, ดิน, ปุ๋ย)
3 ระบบงานบริการทะเบียนเกษตรกร แบบออนไลน์ด้วยตนเอง
3.1. การขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร
3.2. การยืนยันการเป็นเกษตรกร ด้วยสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัล
3.3. การขอใบรายงานผลและใบรับรองการเป็นเกษตรกร
3.4. การติดตามผลการช่วยเหลือตามมาตรการภาครัฐ
3.5. การตรวจสอบประวัติการทำการเกษตรรายบุคคล
4 การยื่นขอรับรอง GAP ผ่าน Pre-GAP Online
สิทธิการเข้าถึงสวัสดิการด้านเกษตร
1. การช่วยเหลือภัยพิบัติด้านพืช
2. การเข้าร่วมการประกันภัยพืชผล
3. การเข้าร่วมโครงการมาตรการภาครัฐ
4. การพัฒนาความรู้และทักษะด้านอาชีพ
เอกสารที่ต้องเตรียม
บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง หรือบัตรประจำตัวประชาชนดิจิทัลของ ThaID App
หลักฐานแสดงสิทธิ์การถือครองที่ดิน
จำนวนเนื้อที่ขั้นต่ำในการขึ้นทะเบียนเกษตกร
ข้าว พืชไร่ นาเกลือ ไม้ผล ไม้ยืนต้น 1 ไร่
ผัก สมุนไพร ไม้ดอก ไม้ประดับ 1 งาน
แมลงเศรษฐกิจ 10-20 รังขึ้นไป (แล้วแต่ชนิดแมลง)
ปลูกพืชในโรงเรือน 72 ตรม.
เพาะเห็ด ทำผักงอก 30 ตรม.
ถ้าพื้นที่ไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำ ต้องมีรายได้จากกิจกรรมนั้นๆ เกิน 8,000 บาท
คุณค่าต่อสังคม
ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในระบบตรวจสอบย้อนกลับมาตรฐานสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์
มีอาหารที่ปลอดภัย (Food Safety)
มีความมั่นคงในอาหาร (Food Security)
มีอากาศสะอาด และลดมลพิษทางอากาศ
เกษตรกรมีสุขภาพแข็งแรง มีรายได้เพิ่มขึ้นมีอาชีพที่มั่นคง