กลุ่มไม่มีสมาร์ทโฟน ต้องดู วิธีได้เงินหมื่น ดิจิทัลวอลเล็ต

กลุ่มไม่มีสมาร์ทโฟน ต้องดู วิธีได้เงินหมื่น ดิจิทัลวอลเล็ต

เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า จากการประชุมคณะอนุกรรมการกำกับการดำเนินโครงการเติมเงิน 1 หมื่นบาทผ่านดิจิทัลวอลเล็ต เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคมที่ผ่านมา ยังยืนกรอบระยะเวลาการดำเนินงานตามเดิมคือ รัฐบาลจะเปิดให้ร้านค้าและประชาชนลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการดิจิทัลวอลเล็ตภายในไตรมาสที่ 3 สำหรับในภาคประชาชน หากผู้ใดเคยยืนยันตัวตนผ่านโครงการของรัฐก่อนหน้านี้แล้ว ไม่ต้องเริ่มต้นกระบวนการยืนยันใหม่

โดยจะมีการดึงฐานข้อมูลของรัฐเดิมมาใช้ในระบบใหม่  ส่วนกระบวนการยืนยันการรับสิทธิโครงการดิจิทัลวอลเล็ตนั้น พี่น้องประชาชนก็ต้องโหลดแอพพลิเคชั่น ทางรัฐ และหากผ่านกระบวนการยืนยันตัวตนแล้วก็จะเหลือแค่การกดรับสิทธิเท่านั้น สำหรับข้อมูลของร้านค้าก็เช่นกัน หากเคยลงทะเบียนโครงการของรัฐไว้แล้ว กระทรวงการคลังก็จะรวบรวมข้อมูลมาใส่ไว้ในระบบให้ เงื่อนไขการใช้จ่ายยังคงกำหนดให้เป็นแบบตัวต่อตัว (Face to Face) คือประชาชนต้องไปซื้อของที่หน้าร้านจริง

และจ่ายเงินของโครงการผ่านแอพพ์ ทางรัฐ ซึ่งจะคล้ายกับแอพพ์การเงินของธนาคาร กรณีกลุ่มที่อาจเข้าไม่ถึงสมาร์ทโฟน คณะอนุกรรมการฯได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือดีจีเอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการต่อ ซึ่งกลไกเบื้องต้นอาจจะให้ใช้บัตรประจำตัวประชาชนในการใช้จ่ายแทนได้

ทั้งนี้ ได้กำชับในเรื่องปัญหาการสวมสิทธิเรื่องของการใช้ผิดประเภท เราพยายามที่จะป้องกันให้ได้มากที่สุด พยายามรองรับคนทุกกลุ่มให้เข้าถึงสิทธิในโครงการ และสร้างความสะดวกให้กับทุกคน สัปดาห์หน้ามีนัดหมายพูดคุยกับกลุ่มผู้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินของรัฐ ในการทำระบบควบคุมแบบเปิด (Open Loop Control System) ของโครงการดิจิทัลวอลเล็ต

นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการใช้จ่ายประชาชนสามารถนำดิจิทัลวอลเล็ตซื้อได้ในทุกสินค้าที่ไม่อยู่ในกลุ่มสินค้าต้องห้าม 16 รายการ รวมถึงภาคบริการ ส่วนประเด็นมีข้อสงสัยว่าสามารถซื้อสมาร์ทโฟน เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือสินค้านำเข้าอื่นได้หรือไม่นั้น ยืนยันว่าซื้อได้ เพราะไม่ได้อยู่ในกลุ่มสินค้าต้องห้าม

ขณะที่ นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวว่า นโยบายรัฐบาลปรับขึ้นอัตราค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทต่อวันทั่วประเทศ จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการอย่างมาก ขณะที่ยังมีปัจจัยเสี่ยงเผชิญวิกฤตแรงงานและเศรษฐกิจฐานราก ทั้งนี้ สิ่งที่ผู้ประกอบการคาดหวังจากรัฐบาลและมีข้อเสนอ คือ

1.แผนยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนและผู้ประกอบการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้มีผลิตภาพแรงงานและผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ

โดยขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท เป็นแบบขั้นบันไดในแต่ละธุรกิจ อาจแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

1.ธุรกิจอุตสาหกรรมที่ขึ้นได้ทันที ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจรายได้ดี และผลประกอบการดี และการขึ้นค่าแรงทั้งระบบต้องไม่กระทบต่อกิจการ

2.กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมที่ขึ้นได้แต่ต้องใช้เวลาเตรียมความพร้อม 6-12 เดือน อาทิ ผู้ประกอบการที่ยังไม่ฟื้นตัว แต่หากมีมาตรการส่งเสริมสามารถฟื้นตัวได้ และ

3.กลุ่มธุรกิจที่ต้องใช้ระยะเวลาในการเตรียมความพร้อม 1 ปี ขึ้นไป อาทิ ผู้ประกอบการรายย่อย วิสาหกิจชุมชน และเกษตรกร

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ