บทสวดอิติปิโส ก่อนนอน เสริมสิริมงคลและดวงชะตา

บทสวดอิติปิโส ก่อนนอน เสริมสิริมงคลและดวงชะตา

บทสวดอิติปิโส คือ บทสวดสรรเสริญพระรัตนตรัย อันได้แก่ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ ส่วนสาเหตุที่เรียกว่าบทสวดอิติปิโส เนื่องจากเป็นการเรียกตามคำขึ้นต้นของบทสวดนี้ เชื่อว่าผู้ที่ภาวนาบทสวดอิติปิโสเป็นประจำ จะแคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง ช่วยเสริมดวงชะตาให้พบเจอแต่สิ่งดีๆ ในชีวิต

บทสวดอิติปิโสควรสวดตอนไหน และควรสวดกี่จบ

บทสวดอิติปิโส สามารถสวดได้ทุกเมื่อที่ต้องการ โดยไม่มีข้อกำหนดเรื่องเวลาเฉพาะ โดยทั่วไป นิยมสวด ก่อนนอน ช่วยให้หลับสบาย อารมณ์สงบ ผ่อนคลาย หรื่อตอนเช้า เริ่มต้นวันใหม่อย่างสดชื่น มีสติ และก่อนทำกิจกรรมสำคัญ เพิ่มความมั่นใจ สร้างพลังใจ หรือในยามเผชิญปัญหา ช่วยให้สงบจิตใจ คิดหาวิธีแก้ไข

นอกจากการสวด อิติปิโส แล้ว ยังมีความเชื่อกันว่าการสวดอิติปิโสตามจำนวนอายุของตัวเอง จะช่วยเสริมดวงชะตา แคล้วคลาดจากอันตราย และให้มีอายุยืนยาวอีกด้วย ตัวอย่างเช่น หากอายุ 25 ปี ก็ให้สวดอิติปิโส 25 จบ เป็นต้น

สำหรับจำนวนการจบนั้น นิยมสวดอิติปิโส 3 จบ 9 จบ หรือ 108 จบ แล้วแต่ความสะดวกและความศรัทธาของแต่ละบุคคล

คำบูชาพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบหนึ่งครั้ง)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมังนะมัสสามิ (กราบหนึ่งครั้ง)

สุปะติปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆะนะมามิ (กราบหนึ่งครั้ง)

คำนมัสการ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (ว่า 3 จบ)

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ

พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ

ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ

สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

บทสวดอิติปิโส แบบย่อ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู

อะนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

คำแปลบทสวดอิติปิโส แบบย่อ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง

เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์

บทสวดอิติปิโส แบบเต็ม

ก่อนท่องบทสวดอิติปิโส ให้ทำสมาธิ ทำจิตให้นิ่ง และกล่าวนะโนฯ 3 จบ ต่อด้วยบทสวดอิติปิโส ดังนี้

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู

อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก

โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา

เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย

อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

คำแปลบทสวดอิติปิโสแบบเต็ม

คำแปลบทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ

เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นผู้ไกลจากกิเลส และตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความเจริญ เป็นผู้จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์

คำแปลบทสวดสรรเสริญพระธรรมคุณ

พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้พึงรู้ได้เฉพาะตน

คำแปลบทสวดสรรเสริญพระสังฆคุณ

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว

ได้แก่ บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษ 4 คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ 8 บุรุษ นั่นแหละพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านเป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ