เริ่มแล้ว ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 2567 ทั่วประเทศ

เริ่มแล้ว ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 2567 ทั่วประเทศ

จากกรณีที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ยึดอัตราค่าแรงขั้นต่ำตามมติเดิม เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 ซึ่งเดิมมีการเสนอไปยังที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแล้ว และนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มีการดึงเรื่องดังกล่าวกลับมาทบทวนโดยสาเหตุของการดึงเรื่องกลับไปทบทวนนั้น นายพิพัฒน์ได้ตั้งข้อสังเกตว่า การใช้หลักเกณฑ์ตามมาตรา 87 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ซึ่งตัวเลขค่าแรงขั้นต่ำที่คณะกรรมการค่าจ้างใช้เป็นหลักเกณฑ์ขึ้นค่าแรงที่เอาตัวเลขต่าง ๆ ย้อนหลัง 5 ปีมาคำนวณเฉลี่ยนั้น เป็นการนำตัวเลข 2563-2564 มาร่วมพิจารณาด้วย

ซึ่งเป็นปีที่เศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง ติดลบมาก ๆ เพราะโควิด-19 การนำตัวเลข 2 ปีนี้มาคำนวณด้วยจะทำให้ได้ตัวเลขต่ำกว่าความเป็นจริง และผิดมาตรฐาน จึงน่าจะนำออกไป

ครม.รับทราบและแสดงความเห็นด้วยในข้อสังเกตนั้น ครม.ให้สิทธิกับ รมว.แรงงานว่าจะยืนยันเสนอให้รับทราบหรือไม่ นายพิพัฒน์จึงขอถอนไปก่อน จึงเท่ากับ ครม.ได้ยินเฉย ๆ ยังไม่ได้รับทราบอย่างเป็นทางการ

สรุปมติเดิม บอร์ดค่าจ้าง เคาะอัตราค่าแรงขั้นต่ำเท่าไร ?

สำหรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำต่อวัน ปี 2567 ที่คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 เคาะไปรอบแรก ดังนี้

1. 370 บาท 1 จังหวัด

จังหวัดภูเก็ต (เดิม 354 บาท)

2. 363 บาท 6 จังหวัด

กรุงเทพมหานคร (เดิม 353 บาท)

จังหวัดนครปฐม (เดิม 353 บาท)

นนทบุรี (เดิม 353 บาท)

ปทุมธานี (เดิม 353 บาท)

สมุทรปราการ (เดิม 353 บาท)

สมุทรสาคร (เดิม 353 บาท)

3. 361 บาท 2 จังหวัด

ชลบุรี (เดิม 354 บาท)

ระยอง (เดิม 354 บาท)

4. 352 บาท 1 จังหวัด

นครราชสีมา (เดิม 340 บาท)

5. 351 บาท 1 จังหวัด

สมุทรสงคราม (เดิม 338 บาท)

6. 350 บาท 6 จังหวัด

พระนครศรีอยุธยา (เดิม 343 บาท)

สระบุรี (เดิม 340 บาท)

ฉะเชิงเทรา (เดิม 345 บาท)

ปราจีนบุรี (เดิม 340 บาท)

ขอนแก่น (เดิม 340 บาท)

เชียงใหม่ (เดิม 340 บาท)

7. 349 บาท 1 จังหวัด

ลพบุรี (เดิม 340 บาท)

8. 348 บาท 3 จังหวัด

สุพรรณบุรี (เดิม 340 บาท)

นครนายก (เดิม 338 บาท)

หนองคาย (เดิม 340 บาท)

9. 347 บาท 2 จังหวัด

กระบี่ (เดิม 340 บาท)

ตราด (เดิม 340 บาท)

10. 345 บาท 15 จังหวัด

กาญจนบุรี (เดิม 335 บาท)

ประจวบคีรีขันธ์ (เดิม 335 บาท)

สุราษฎร์ธานี (เดิม 340 บาท)

สงขลา (เดิม 340 บาท)

พังงา (เดิม 340 บาท)

จันทบุรี (เดิม 338 บาท)

สระแก้ว (เดิม 335 บาท)

นครพนม (เดิม 335 บาท)

มุกดาหาร (เดิม 338 บาท)

สกลนคร (เดิม 338 บาท)

บุรีรัมย์ (เดิม 335 บาท)

อุบลราชธานี (เดิม 340 บาท)

เชียงราย (เดิม 332 บาท)

ตาก (เดิม 332 บาท)

พิษณุโลก (เดิม 335 บาท)

11. 344 บาท 3 จังหวัด

เพชรบุรี (เดิม 335 บาท)

ชุมพร (เดิม 332 บาท)

สุรินทร์ (เดิม 335 บาท)

12. 343 บาท 3 จังหวัด

ยโสธร (เดิม 335 บาท)

ลำพูน (เดิม 332 บาท)

นครสวรรค์ (เดิม 335 บาท)

13. 342 บาท 5 จังหวัด

นครศรีธรรมราช (เดิม 332 บาท)

บึงกาฬ (เดิม 335 บาท)

กาฬสินธุ์ (เดิม 338 บาท)

ร้อยเอ็ด (เดิม 335 บาท)

เพชรบูรณ์ (เดิม 335 บาท)

14. 341 บาท 5 จังหวัด

ชัยนาท (เดิม 335 บาท)

สิงห์บุรี (เดิม 332 บาท)

พัทลุง (เดิม 335 บาท)

ชัยภูมิ (เดิม 332 บาท)

อ่างทอง (เดิม 335 บาท)

15. 340 บาท 16 จังหวัด

ระนอง (เดิม 332 บาท)

สตูล (เดิม 332 บาท)

เลย (เดิม 335 บาท)

หนองบัวลำภู (เดิม 332 บาท)

อุดรธานี (เดิม 328 บาท)

มหาสารคาม (เดิม 332 บาท)

ศรีสะเกษ (เดิม 332 บาท)

อำนาจเจริญ (เดิม 332 บาท)

แม่ฮ่องสอน (เดิม 332 บาท)

ลำปาง (เดิม 332 บาท)

สุโขทัย (เดิม 332 บาท)

อุตรดิตถ์ (เดิม 335 บาท)

กำแพงเพชร (เดิม 332 บาท)

พิจิตร (เดิม 332 บาท)

อุทัยธานี (เดิม 332 บาท)

ราชบุรี (เดิม 332 บาท)

16. 338 บาท 4 จังหวัด

ตรัง (เดิม 332 บาท)

น่าน (เดิม 328 บาท)

พะเยา (เดิม 335 บาท)

แพร่ (เดิม 332 บาท)

17. 330 บาท 3 จังหวัด

นราธิวาส (เดิม 328 บาท)

ปัตตานี (เดิม 328 บาท)

ยะลา (เดิม 328 บาท)

ที่มา: กระทรวงแรงงาน

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ