รวมรายการ ลดหย่อนภาษี 2566

รวมรายการ ลดหย่อนภาษี 2566

วันนี้เราจะพามาดูรายการลดหย่อนภาษี 2566 ว่ามีอะไรบ้าง ตามไปดูกันเลย

คนที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ลดหย่อนภาษี 2566

วัคนโสด

วั มีเงินได้ประเภทเดียว ต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีรายได้เกิน 120,000 บาท

วั มีเงินได้จากการจ้างแรงงาน และมีเงินได้ประเภทอื่น เช่น รายได้จากเงินปันผล, ฟรีแลนซ์, ค้าขาย และอื่นๆ ต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 60,000 บาท

วั มีเฉพาะเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน ต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 60,000 บาท

วัคนมีคู่

วั มีเงินได้ประเภทเดียว จะต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 220,000 บาท

วั มีเงินได้ และมีเงินได้ประเภทอื่นด้วย จะต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 120,000 บาท

วั มีเฉพาะเงินได้ประเภทอื่น ที่ไม่ใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน ต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 120,000 บาท

วิธีคำนวณภาษี 2566

1. นำรายได้ทุกประเภททั้งปีมารวมกัน เช่น เงินเดือน โบนัส เงินจากการค้าขาย เงินปันผล ฯลฯ

2. นำค่าลดหย่อนต่าง ๆ มาลบออกจากรายได้

กรณีมีเงินได้จากเงินเดือน เงินได้จากตำแหน่งงานที่ทำ ฯลฯ สามารถหักค่าใช้จ่าย 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท

หักค่าลดหย่อนภาษีอื่น ๆ ตามที่มี

3. เมื่อนำค่าลดหย่อนทั้งหมดลบออกจากรายการแล้ว เงินส่วนที่เหลือเรียกว่าเงินได้สุทธิ ต้องนำเงินจำนวนนี้ไปคำนวณภาษีเพื่อเสียภาษีตามขั้นบันได 5%-35%

หลังจากที่คำนวฯแล้ว คนที่มีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาทต่อปี จะได้รับการยกเว้นภาษี

รายการลดหย่อนภาษี 2566 มีอะไรบ้าง

ลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว

1. ลดหย่อนส่วนบุคคล : จำนวน 60,000 บาท

2. ลดหย่อนคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ : จำนวน 60,000 บาท

สำหรับสามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรส

คู่สมรสต้องไม่มีเงินได้ หรือมีเงินได้แต่ยื่นแบบฯ รวมกัน

3. ลดหย่อนบุตร : จำนวน 30,000 บาทต่อคน

ต้องเป็นบุตรตามกฎหมาย

บุตรบุญธรรใช้ได้ไม่เกิน 3 คน

บุตรอายุไม่เกิน 20 ปี

หากบุตรอายุ 21-25 ปี ต้องกำลังศึกษาในระดับชั้น ปวส. ขึ้นไป

บุตรมีเงินได้ในปีนั้นไม่เกิน 30,000 บาท

ลดหย่อนบุตรคนที่ 2 : จำนวน 30,000 บาทต่อคน

คลอดบุตรคนที่ 2 ขึ้นไป ตั้งแต่ปี 2561

เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย

4. ลดหย่อนค่าฝากครรภ์ และค่าคลอดบุตร : หักค่าใช้จ่ายตามจริงสูงสุดไม่เกินปีละ 60,000 บาท

ต้องใช้เอกสารใบรับรองแพทย์และใบเสร็จรับเงินจากสถานพยาบาลที่เกิดขึ้นจริงในช่วงวันที่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค. 66

สามีใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีค่าคลอดบุตรได้ไม่เกิน 60,000 บาท ถ้าภรรยาไม่มีเงินได้ หรือมีเงินได้แต่ยื่นภาษีรวมกัน

5. ลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา-มารดา : จำนวนคนละ 30,000 บาท ไม่เกิน 4 คน รวม 120,000 บาท

บิดา-มารดาอายุ 60 ปีขึ้นไป

มีเงินได้ในปีนั้นไม่เกิน 30,000 บาท

ลูกสามารถใช้สิทธิได้เพียงคนเดียว

6. ลดหย่อนค่าอุปการะคนพิการหรือคนทุพพลภาพ : จำนวนคนละ 60,000 บาท

ผู้พิการต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการ

ผู้พิการมีเงินได้ในปีนั้นไม่เกิน 30,000 บาท

กลุ่มลดหย่อนภาษี กลุ่มประกันชีวิต-การลงทุน

1. ประกันสังคม : ลดหย่อนภาษีได้ตามจริง

ผู้ประกันตนมาตรา 33 ลดหย่อนได้สูงสุด 9,000 บาท

ผู้ประกันตนมาตรา 39 ลดหย่อนได้สูงสุด 5,184 บาท

ผู้ประกันตนมาตรา 40 ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 840-3,600 บาท ตามที่จ่ายจริง

2. ประกันชีวิตทั่วไป หรือเงินฝากเพื่อสงเคราะห์ชีวิต : ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

มีความคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป

มีผลตอบแทนคืนไม่เกิน 20% ของดอกเบี้ย

3. ประกันชีวิตคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ : ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท

สามี-ภรรยาต้องจดทะเบียนสมรส

ต้องมีสถานะเป็นสามี-ภรรยาตลอดทั้งปี

4. ประกันสุขภาพตัวเอง : ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท

เมื่อรวมเบี้ยประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท

5. ประกันสุขภาพ บิดา-มารดา : ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท

บิดา-มารดามีเงินได้ในปีนั้นไม่เกิน 30,000 บาท

บุตรบุญธรรมใช้สิทธิไม่ได้

บุตรหลายคนหารเฉลี่ยกันได้

6. ประกันชีวิตบำนาญ : ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุด 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

7. กองทุนรวม SSF (Super Savings Fund) * หรือกองทุนรวม SSF : ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

8. กองทุนรวม RMF (Retirement Mutual Fund หรือ RMF) * : ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

9. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ* : ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินปีละ 10,000 บาท ส่วนจำนวนเงินที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้ และไม่เกิน 490,000 บาท จะได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำไปรวมกับเงินได้ที่ต้องเสียภาษี

10. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) * : ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

11. กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน* : ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

12. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) * : ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดปีละ 13,200 บาท

13. ลดหย่อนภาษี เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) : ตามจำนวนที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

หมายเหตุ ข้อ 6-12 เมื่อรวมเงินที่ซื้อ ประกันชีวิตบำนาญ, กองทุนรวม SSF, กองทุนรวม RMF, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และกองทุนการออมแห่งชาติ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

กลุ่มลดหย่อนภาษี กลุ่มอสังหาริมทรัพย์

ดอกเบี้ย เงินกู้ยืมเพื่อการมีที่อยู่อาศัย ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

เป็นการกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างที่อยู่อาศัยบนที่ดินของตัวเองหรือบนที่ดินที่มีสิทธิครอบครอง ไม่ว่าจะเป็นบ้าน หรืออาคาร หรือคอนโดมิเนียม โดยเราต้องอยู่อาศัยด้วย เว้นแต่ มีเหตุจำเป็นหรือเหตุสุดวิสัย

เป็นการกู้ยืมจากสถาบันการเงินภายในประเทศ เช่น ธนาคารพาณิชย์และธนาคารของรัฐต่าง ๆ โดยทรัพย์สินที่กู้ต้องใช้มาเป็นหลักทรัพย์ในการค้ำประกันการกู้ (จำนอง) ด้วย

หากมีการกู้สำหรับที่อยู่อาศัยมากกว่า 1 แห่ง สามารถใช้ลดหย่อนรวมกันได้ทุกแห่ง แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท

กรณีกู้ร่วมกันหลายคน ก็ให้แบ่งดอกเบี้ยคนละเท่า ๆ กัน รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท

กลุ่มลดหย่อนภาษี กลุ่มเงินบริจาค

1. เงินบริจาคพรรคการเมือง : ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท

2. เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ ได้ : ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของเงินบริจาคตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน

ต้องเป็นสถานศึกษาที่ ศธ. กำหนด

บริจาคผ่าน e-Donation เท่านั้น

3. เงินบริจาคมให้สถานพยาบาลของรัฐ : ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของจำนวนที่จ่ายจริง (รวมกับเงินบริจาคอื่ ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนอื่นแล้ว)

ต้องเป็นสถานพยาบาลของราชการ

4. เงินบริจาคสนับสนุนการกีฬา : ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของจำนวนที่จ่ายจริง (รวมกับเงินบริจาคอื่ ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนอื่นแล้ว)

ต้องเป็นหน่วยงานด้านกีฬาที่สังกัดสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย

5. เงินบริจาคเพื่อการพัฒนาสังคม : ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของจำนวนที่จ่ายจริง (รวมกับเงินบริจาคอื่ ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนอื่นแล้ว)

ต้องบริจาคให้หน่วยงานที่กำหนด เช่น กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา, กองทุนยุติธรรม และการจัดหาหนังสือ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริมการอ่าน

6. เงินบริจาคให้แก่มูลนิธิด้านสาธารณสุข : ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของจำนวนที่จ่ายจริง (รวมกับเงินบริจาคอื่ ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนอื่นแล้ว)

บริจาคผ่าน e-Donation เท่านั้น

ต้องบริจาคให้มูลนิธิที่กำหนด เช่น มูลนิธิโรงพยาบาลราชวิถี, มูลนิธิโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า หรือมูลนิธิรามาธิบดี

7. เงินบริจาคให้กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม : ตามที่บริจาคจริง (รวมกับเงินบริจาคอื่น ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนอื่นแล้ว)

บริจาคผ่าน e-Donation เท่านั้น

8. เงินบริจาคทั่วไป : ตามที่บริจาคจริง (รวมกับเงินบริจาคอื่น ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนอื่นแล้ว)

เป็นการบริจาคเงินเพื่อสาธารณกุศล เช่น บริจาคให้วัด มูลนิธิ สมาคม สถานสงเคราะห์ ฯลฯ

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ