จับตา ภูเก็ต หวั่นเกิด สึนามิ หลังแผ่นดินไหวรอบที่ 32 เช้าวันที่ 06 ก.ค. 65
เกิดเหตุเตือนภัยและ สึนามิ ขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์อันดับ 1 เนื่องจากมี แผ่นดินไหว ใน หมู่เกาะนิโคบาร์ ซึ่งห่างจาก ภูเก็ต เพียง 530 กิโลเมต ซึ่งเป็นความแรงขนาด 4.9 ที่ความลึก 10 กิโลเมตร โดยเกิดขึ้นเป็นรอบที่ 32 แล้ว
ครั้งแรกที่เกิด แผ่นดินไหว คือวันที่ 07 ก.ค. 65 ขนาด 4.8 ที่ความลึก 10 กิโลเมตร ทางตอนเหนือของ หมู่เกาะสุมาตรา แนวชายฝั่งจังหวัดอาเจ็ะห์ ห่างจากจังหวัด ภูเก็ต ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 480 กิโลเมตร และเกิดขึ้นมาเรื่อยๆจนถึงวันนี้ ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามเหตุการณ์แผ่นดินไหว จ.ภูเก็ต (ภาคประชาชน) อยากให้ประชาชนตื่นตัวแต่ไม่ตระหนก เฝ้าระวังเตือนภัยพร้อม ขออาสาสมัครรายงานเสียงหอสัญญาณเตือนภัย ตลอดแนวชายฝั่งอันดามัน
ด้าน รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ รองประธานฯ ที่ มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ก็ได้ออกมาโพสต์ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเกิด แผ่นดินไหว ครั้งนี้และอีกแห่งที่เกิด แผ่นดินไหว เช่นกันนั้นคือ หมู่เกาะอันดามัน ด้วย
ขณะเดียวกัน ทุ่นเตือนภัยในมหาสมุทรอินเดีย ทั้งของไทย (2 ทุ่น) และอินเดีย (5 ทุ่น) ใช้งานไม่ได้ ทำให้เกิดความตระหนก และกังวลเรื่องสึนามิชายฝั่งทะเลอันดามันเหมือนกับเหตุการณ์ในปี 2547 ผมขอทำความเข้าใจในประเด็นที่สำคัญดังนี้
1) แผ่นดินไหวที่จะทำให้เกิดสึนามิตามมาในระดับที่เป็นอันตรายต้องมีขนาดใหญ่ > 7.5 Mw
2) การเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กหลายครั้ง (Foreshock) อาจตามมาด้วยแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้
3) แผ่นดินไหวทุกครั้งไม่จำเป็นต้องเกิดสึนามิทุกครั้ง ขึ้นอยู่กับขนาด ความลึก แนวรรอยเลื่อน และลักษณะการมุดตัว
4) แม้ว่าแผ่นดินไหวคาดการณ์ และเตือนภัยไม่ได้ แต่เราสามารถคาดการณ์ และเตือนภัยสึนามิได้
5) ระบบเตือนภัยสึนามิโดยใช้ทุ่นมักจะได้รับความเสียหายบ่อยครั้ง จึงไม่ใช่ทางออก
6) ระบบคาดการณ์ และเตือนภัยโดยใช้ฐานข้อมูล จึงมีความจำเป็น โดยศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และภัยพิบัติ ใช้ระบบนี้เฝ้าระวัง (แต่เราเฝ้าระวังเฉพาะเวลาทำงาน 08.00-17.00) หากเกิดกลางคืน ตัวใครตัวมันน่ะครับ
7) ความตระหนักเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด กล่าวคือเมื่อรู้สึกว่าแผ่นดินไหวริมชายฝั่งทะเล ให้รีบขึ้นที่สูง แล้วท่านและครอบครัวที่รัก จะปลอดภัยครับ
ขอบคุณรูปภาพ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์